วันจันทร์ที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2561

ความหมายของการออกแบบ


ความหมายของการออกแบบการเรียนการสอน
       การออกแบบการเรียนการสอน เป็นคําที่ประกอบด้วยคําสําคัญ 2 คํา คือ “การออกแบบ” และ “การเรียนการสอน” ดังนั้นเพื่อให้เกิดความเข้าใจความหมายของการออกแบบการเรียนการสอน อย่างชัดเจนเมื่อเปรียบเทียบกับการออกแบบในเรื่องอื่น ๆ และงานของนักออกแบบการเรียนการสอน ว่าเป็นอย่างไร จึงขอกล่าวถึงในรายละเอียดของคําทั้งสองดังนี้

การออกแบบ
       การออกแบบ (design) เป็นคําที่มีการใช้ในศาสตร์สาขาต่าง ๆ เช่น การออกแบบสถาปัตยกรรม การออกแบบมัณฑนศิลป์ การออกแบบเครื่องประดับ เป็นต้น คําว่า “การออกแบบ” หมายถึง การแก้ปัญหา อย่างเป็นระบบและเป็นกระบวนการที่ดําเนินการก่อนการพัฒนาหรือสร้างบางสิ่งบางอย่าง หรือมี จุดมุ่งหมายเพื่อแก้ไขปัญหาอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งเป็นการแก้ปัญหาที่มีเป้าหมายเฉพาะเจาะจงไม่ใช่ การแก้ปัญหาทั่วไป ดังนั้นเมื่อนําการออกแบบมาใช้กับการเรียนการสอน การออกแบบการเรียน การสอนจึงแตกต่างจากการวางแผนการเรียนการสอนทั่วไปตรงที่การออกแบบการเรียนการสอนมี จุดมุ่งหมายที่มีความเฉพาะเจาะจง มุ่งเน้นเพื่อแก้ปัญหาการเรียนรู้อย่างใดอย่างหนึ่งของนักเรียน การออกแบบโดยทั่วไปเป็นกระบวนการที่รวมถึงการวางแผน การพัฒนาและการประเมินผล ทั้งสาม ส่วนนี้ล้วนส่งผลต่อจุดประสงค์หรือเป้าหมายที่ต้องการ เช่นเดียวกับการออกแบบการเรียนการสอนที่ มุ่งผลการเรียนรู้ของนักเรียน ดังนั้นจึงต้องทําด้วยความแน่นอนระมัดระวังและใช้ความชํานาญการ สิ่งที่นักออกแบบต้องคํานึงถึงคือ ด้านประสิทธิผล หรือผลการเรียนรู้ที่ต้องการ ประสิทธิภาพ คือ การประหยัดในด้านของเวลาและการใช้ทรัพยากรและความพึงพอใจที่มีต่อผลงาน นอกจากนี้การ ออกแบบยังเป็นงานที่ต้องอาศัยทั้งความคิดสร้างสรรค์และความรู้เกี่ยวกับสิ่งที่ต้องการออกแบบ ดังนั้น ผลงานของการออกแบบแม้จะมีจุดมุ่งหมายอย่างเดียวกัน ใช้แนวคิดและหลักการอย่างเดียวกัน ผลงาน การออกแบบก็อาจจะแตกต่างกันได้ จากการรวบรวมข้อสังเกตในการออกแบบในงานต่าง ๆ จํานวนมากรวมถึงงานการออกแบบการเรียนการสอน โดยโรว์แลนด์ (Rowland, 1993 cited in Smith & Ragan, 1999, pp. 4-5) ได้สรุปลักษณะที่สําคัญของการออกแบบไว้ดังนี้
       1) การออกแบบเป็นกระบวนการที่มีเป้าหมายเป็นสิ่งนําทางเพื่อสร้างสิ่งใหม่ 

       2) สิ่งใหม่ที่เป็นผลงานการออกแบบต้องนําไปใช้ได้และมีประโยชน์
       3) งานพื้นฐานในการออกแบบคือการแปลงสารสนเทศจากความต้องการไปสู่สารสนเทศ ในการออกแบบผลงาน
       4) การออกแบบต้องอาศัยปฏิสัมพันธ์ทางสังคม 
       5) การออกแบบเกี่ยวข้องกับการแก้ไขปัญหา แต่การแก้ไขปัญหาทั้งหลายไม่จําเป็นต้องผ่านการออกแบบ
       6) ในการออกแบบนั้นกระบวนการแก้ปัญหาเป็นทั้งกระบวนการที่มีขั้นตอนเป็นลำดับขั้นหรือเป็นไปเองโดยอัตโนมัติ
       7) การออกแบบเป็นศาสตร์ หรือผสมผสานระหว่างศาสตร์และศิลป์
       8) การออกแบบต้องอาศัยทักษะทางเทคนิค ความคิดสร้างสรรค์ ความเป็นเหตุผลและใช้ กระบวนการคิดอย่างเป็นระบบ
       9) กระบวนการออกแบบเป็นกระบวนการพัฒนา

การเรียนการสอน
       ทิศนา แขมมณี (2555, หน้า 2-6) ได้วิเคราะห์วิวัฒนาการของการสอนไว้อย่างชัดเจนโดย กล่าวว่า การสอนเป็นพฤติกรรมทางธรรมชาติของมนุษย์ในการที่จะช่วยเหลือกันและกันในการเรียนรู้ สิ่งต่าง ๆ รอบตัวเพื่อประโยชน์ในการดํารงชีวิต ในยุคแรก ๆ การสอนมีลักษณะของการถ่ายทอดความรู้ ความคิด ความเชื่อ ทักษะและเจตคติ ในยุคนั้นเชื่อว่าความสามารถที่สอนผู้อื่นได้เป็นความสามารถ พิเศษเฉพาะที่บางคนมีเป็นสิ่งที่ติดตัวมาแต่กําเนิด ไม่สามารถฝึกฝนกันได้ การสอนในช่วงนี้จึงมีลักษณะ เป็นศิลป์มากกว่าศาสตร์ คําศัพท์ที่ใช้ในช่วงนี้ ได้แก่
       “การครอบงํา” (indoctrination) ใช้ในความหมายที่เป็นการใช้อิทธิพลในการดําเนินการโดย มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ผู้เรียนละทิ้งความคิด ความเชื่อเดิม
       "การปลูกฝัง" (inculcation) ใช้ในความหมายที่เป็นการพร่ำสอนความคิดความเชื่อด้วยวิธีการชักจูง โน้มน้าวให้ผู้เรียนคล้อยตาม
       “การสอน” (teaching) เป็นการดําเนินการสอนในลักษณะที่เป็นทางการในเรื่องอื่น ๆ นอกเหนือจาก ลัทธิความเชื่อ เช่นในเรื่องของอาชีพ การสอนเป็นการถ่ายทอดความรู้ ความคิด ความเชื่อ ทักษะและ เจตคติ โดยเน้นหนักที่บทบาทของผู้สอน และความสัมพันธ์ของผู้สอนกับผู้เรียน หรือ “ครูกับศิษย์” การถ่ายทอดโดยครู เรียกว่าเป็น “การสั่งสอน” หรือ “การสอน”
       ต่อมาเมื่อวิทยาการทางการศึกษาก้าวหน้าขึ้นตามลําดับ การสอนก็เริ่มเปลี่ยนแปลงเป็นศาสตร์ มากขึ้นเนื่องจากมีการศึกษาวิจัยซึ่งชี้ว่า การจัดการเรียนการสอนที่มีการวางแผนและมีการใช้หลักการ ทางการศึกษาต่าง ๆ อย่างเหมาะสมจะช่วยให้ผู้เรียนบรรลุเป้าหมายการเรียนรู้ที่กําหนดไว้ ในยุคนี้ จึงนิยมใช้คําว่า “การเรียนการสอน” (instruction) ดังนั้น การเรียนการสอนจึงหมายถึงการจัดเตรียม เงื่อนไขการเรียนรู้ที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนบรรลุเป้าหมายการเรียนรู้ตามที่กําหนดไว้อย่างตั้งใจเพื่อทําให้ ผู้เรียนเกิดความสามารถในด้านใดด้านหนึ่งตามที่ต้องการ นอกจากนี้คําว่า “การสอน” และ “การเรียน การสอน” ก็เป็นคําที่มักใช้แทนกัน (Smith & Ragan, 1999, p. 3)
       ในยุคที่การสอนเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์นี้ ยังมีคําศัพท์อื่น ๆ ที่ใช้สื่อความหมายเช่นเดียวกับ คําว่า “การสอน” แต่ต่างกันในรายละเอียด ซึ่งทิศนา แขมมณี (2555, หน้า 7-11) ได้แจกแจงไว้อย่าง ชัดเจน สรุปได้ดังนี้
       การศึกษา (education) เป็นคําที่ใช้ในวงกว้าง หมายถึง ประสบการณ์การเรียนรู้ที่ไม่เจาะจง ส่วนใหญ่มิได้มีการวางแผน เกิดขึ้นอย่างไม่เป็นทางการ
       การฝึกอบรม (training) หมายถึง ประสบการณ์การเรียนรู้ที่มีโครงสร้างเฉพาะเพื่อพัฒนา ทักษะเฉพาะซึ่งสามารถนําไปประยุกต์ใช้ได้ทันที เช่น การฝึกอบรมทักษะวิชาชีพต่าง ๆ
       การติวหรือกวดวิชา (tutoring) หมายถึง การสอนซ่อมเสริมเพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ ความเข้าใจ ในจุดที่เป็นปัญหาหรือเป็นความต้องการของผู้เรียน ซึ่งมักเป็นการสอนแบบกลุ่มเล็กหรือตัวต่อตัวเพื่อให้ ได้ผลต่อผู้เรียนสูงสุด
       การชี้แนะ (Coaching) หมายถึง การสอนเป็นรายบุคคลโดยผู้สอนทําหน้าที่สาธิตและกํากับ การปฏิบัติของผู้เรียน ให้คําชี้แนะเพื่อปรับปรุงแก้ไขการปฏิบัติของผู้เรียนจนผู้เรียนประสบความสําเร็จ มักนิยมใช้ในวงการที่เน้นลักษณะงานที่เป็นการเคลื่อนไหวร่างกาย เช่น วงการกีฬา เป็นต้น
       การนิเทศ (Supervising) ใช้ในความหมายเดียวกับการชี้แนะ มักนิยมใช้ในวงวิชาชีพ เช่น ในวงการศึกษามีศึกษานิเทศก์ทําหน้าที่ในการนิเทศการศึกษา ในวงการธุรกิจมีบุคลทําหน้าที่นิเทศ
       การสอนทางไกล (distance Learning) เป็นการสอนที่ผู้เรียนและผู้สอนไม่จําเป็นต้องอยู่ที่ เดียวกัน ผู้เรียนจํานวนมากไม่ว่าจะอยู่ที่ใดสามารถจะเรียนรู้จากครูผู้สอนคนเดียวกันได้ในเวลาเดียวกัน โดยอาศัยสื่ออิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ เช่น โทรทัศน์ วีดีทัศน์ คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือในการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร
       การสอนแบบไม่มีครู (instruction without teacher) เป็นการเรียนรู้ด้วยตนเองโดยใช้โปรแกรม สําเร็จรูป (programmed instruction) ที่มีผู้จัดทําไว้เพื่อช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง โปรแกรมสําเร็จรูปนี้มีทั้งที่อยู่ในรูปของสื่อสิ่งพิมพ์ ตํารา เอกสารหรือแผ่นดิสก์ที่ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ ที่เรียกว่า “คอมพิวเตอร์ช่วยสอน” (Computer-assisted instruction หรือ CAl) ซึ่งการเรียนรู้ในลักษณะนี้ จะมีบทบาทมากขึ้นในอนาคต
       การสร้างความรู้โดยผู้เรียน (construction) เป็นการเรียนรู้ที่ผู้เรียนเป็นผู้สร้างความรู้ซึ่งมี พื้นฐานจากแนวคิดการเรียนรู้ที่เปลี่ยนบทบาทของครูจากผู้ดําเนินการเรียนการสอนมาเป็นผู้อํานวย ความสะดวกในการเรียนรู้ของผู้เรียน และเน้นบทบาทของผู้เรียนเป็นผู้กระทํา (acting on) เพื่อสร้าง ความรู้ความเข้าใจประสบการณ์ เหตุการณ์หรือสิ่งต่าง ๆ ในสังคมและสิ่งแวดล้อมรอบตัวที่ได้ประสบ ด้วยกระบวนการทางปัญญาและกระบวนการทางสังคม ไม่ใช่การรับเข้ามา (taking in) จากการที่ครูเป็น ผู้ถ่ายทอด
       คําศัพท์ที่ใช้กับการสอนที่มีอยู่อย่างหลากหลายดังกล่าวข้างต้น สะท้อนให้เห็นแนวโน้มของ บทบาทของครูในกระบวนการเรียนรู้ของมนุษย์ที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างชัดเจนจากผู้ที่มีบทบาทเด่นและ เป็นฝ่ายกระทําเพื่อให้ผู้เรียนได้รับความรู้มาเป็นผู้เรียนมีบทบาทเด่นและเป็นฝ่ายลงมือกระทําเองเพื่อ สร้างความรู้ ซึ่งตรงกับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 (แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 2 พ.ศ. 2545) ซึ่งกล่าวถึงแนวการจัดการศึกษาในมาตรา 22 ไว้ดังนี้
       “การจัดการศึกษาต้องยึดหลักว่าผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ และถือว่าผู้เรียนมีความสําคัญที่สุด กระบวนการจัดการศึกษาต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตาม ธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ”
       การสอนจึงเป็นกระบวนการที่เน้นปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้สอนกับผู้เรียนโดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อ ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้โดยการดําเนินการที่เกิดขึ้นนั้นเป็นไปอย่างมีการวางแผนหรือตั้งใจให้ เกิดขึ้นมิใช่การเกิดขึ้นตามยถากรรม ส่วนการเรียนการสอนอาจมีครูหรือไม่มีครูก็ได้ สมิทและราแกน (Smith & Bagan, 1999, p. 3) ได้แสดงภาพความสัมพันธ์ของคําที่มีการใช้มากที่สุดคือคําว่าการศึกษา (education) การเรียนการสอน (instruction) การฝึกอบรม (training) และการสอน (teaching) ดังภาพที่ 1.1

ภาพที่ 1.1 ความสัมพันธ์ของคำที่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอน ที่มา: Smith & Bagan, 1999, p.

       จากภาพที่ 1.1 จะเห็นว่าการศึกษาเป็นคําที่มีความหมายกว้างที่สุด ทั้งการสอนและการเรียน การสอนก็เป็นการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่อยู่ในการศึกษาด้วย ซึ่งคําว่าการสอนและการเรียนการสอน มักเป็นคําที่ใช้แทนกัน แต่การสอนเป็นประสบการณ์การเรียนรู้ที่จัดโดยผู้สอนเท่านั้นไม่สามารถจัดได้ ด้วยสื่ออื่น ๆ เช่น วีดีทัศน์ โปรแกรมคอมพิวเตอร์หรือสื่ออื่น ๆ โดยไม่มีผู้สอนร่วมด้วย ซึ่งแตกต่างจาก การเรียนการสอนซึ่งไม่จําเป็นต้องมีผู้สอนก็ได้ ส่วนคําว่าการฝึกอบรมนั้นเป็นการจัดการเรียนการสอน ที่มีจุดประสงค์ที่เฉพาะเจาะจงในการฝึกทักษะใดทักษะหนึ่งหรือประสบการณ์ในเรื่องใดเรื่องหนึ่งและ ต้องมีผู้สอนร่วมด้วย
       จะเห็นว่าการออกแบบและการเรียนการสอนเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ที่ผ่านการพัฒนาการมา อย่างต่อเนื่อง ตามพัฒนาการและความเจริญก้าวหน้าของสังคม

การออกแบบการเรียนการสอน
       เมื่อนําคําทั้งสองคือ “การออกแบบ” และ “การเรียนการสอน” มารวมกันเป็น “การออกแบบ การเรียนการสอน” (instructional design) นักการศึกษาด้านการออกแบบการเรียนการสอนได้ให้
    

       ดิคและแครี (Dick & Carey, 1985, p. 5) ให้ความหมาย การออกแบบการเรียนการสอน คือ กระบวนการวางแผนการเรียนการสอนอย่างเป็นระบบเพื่อให้บรรลุเป้าหมายการเรียนการสอนที่ต้องการ โดยตอบคําถามให้ได้ว่าจะสอนอะไรและสอนอย่างไรจึงจะบรรลุเป้าหมาย และจะทราบได้ อย่างไรว่าบรรลุเป้าหมายแล้ว
ซีลส์ และกลาสโกว์ (Seels & Glasgow, 1990, p.4) ให้ความหมาย การออกแบบการเรียน การสอน คือกระบวนการพัฒนาอย่างเป็นระบบที่นําเอาทฤษฎีการเรียนรู้และทฤษฎีการสอนมาทําให้ การเรียนการสอนมีคุณภาพ
       แชมบอช และมาเกลียโร (Shambaugh & Magiaro, 1997, p. 24) ให้ความหมายของ การออกแบบการเรียนการสอน คือ กระบวนการเชิงระบบที่ใช้ในการวิเคราะห์ความต้องการของผู้เรียน เพื่อจัดหาสิ่งที่จะช่วยให้นักออกแบบการเรียนการสอนสร้างสิ่งที่เป็นไปได้เพื่อตอบสนองความต้องการ ของผู้เรียน
       สมิทและราแกน (Smith & Ragan, 1999, 2. 2) ให้ความหมาย การออกแบบการเรียนการสอน คือ กระบวนการที่เป็นระบบในการนําหลักการเรียนรู้และหลักการสอนไปวางแผนสื่อ วัสดุ อุปกรณ์ การเรียนการสอนและกิจกรรมการเรียนการสอน
       กานเย เวเกอร์ โกลาส และเคลเลอร์ (Gage, VVager, Golas, & Keller, 2005, p. 1) ให้ความหมาย ของการออกแบบการเรียนการสอน เป็นการนําหลักการเรียนรู้ไปออกแบบเหตุการณ์ ที่ประกอบด้วย กิจกรรมต่าง ๆ ที่กําหนดขึ้นอย่างมีเป้าประสงค์ชัดเจน หรือที่เรียกว่า การเรียนการสอนให้มี ประสิทธิภาพเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามที่คาดหวัง
       จากแนวคิดของนักการศึกษาดังกล่าว สรุปได้ว่า การออกแบบการเรียนการสอนมีลักษณะที่ สําคัญ คือ เป็นกระบวนการที่เป็นระบบที่นํามาใช้ในการศึกษาความต้องการของผู้เรียนและปัญหาการเรียน การสอนเพื่อแสวงหาแนวทางที่จะช่วยแก้ปัญหาการเรียนการสอน ซึ่งอาจเป็นการปรับปรุงสิ่งที่มีอยู่หรือ สร้างสิ่งใหม่โดยนําหลักการเรียนรู้และหลักการสอนมาใช้ในการดําเนินการ เป้าหมายของการออกแบบ การเรียนการสอนคือการพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน

       จากความหมายข้างต้นอาจมีผู้สงสัยว่า การออกแบบการเรียนการสอนมีความเหมือนหรือ แตกต่างจากการวางแผนการเรียนการสอนอย่างไร หากย้อนไปดูที่ลักษณะสําคัญของการออกแบบตาม ที่โรว์แลนด์ ได้กล่าวไว้ในตอนต้นในเรื่องลักษณะสําคัญของการออกแบบก็จะพบคําตอบว่า การวางแผน การเรียนการสอนโดยทั่วไปอาจจะไม่มีการออกแบบการเรียนการสอน แต่การออกแบบการเรียน การสอนต้องมีการวางแผนการเรียนการสอนเสมอ ผู้ออกแบบการเรียนการสอนต้องมีทั้งความรู้ ทักษะ ประสบการณ์ และความคิดสร้างสรรค์

อ้างอิง
ทิศนา แขมมณี (2555), ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มี
       ประสิทธิภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 15), กรุงเทพฯ : สํานักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ราชบัณฑิตยสถาน (2555), พจนานุกรมศัพท์ศึกษาศาสตร์ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. กรุงเทพฯ:
       อรุณการพิมพ์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม