วันจันทร์ที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2561

นิยามการออกแบบการเรียนการสอน

นิยามการออกแบบการเรียนการสอน
       ริตา ริชชีย์ (Rita Richy, 1986 : 9) ได้นิยามการออกแบบการเรียนการสอนว่าหมายถึงวิทยาศาสตร์การสร้างสรรค์รายละเอียดที่ชี้เฉพาะเพื่อการพัฒนาการประเมินผลและการบำรุงรักษาสถานการณ์ หรือเงื่นไขที่อำนวยความสะดวกให้กับการเรียนรู้ในหน่วยของเนื้อหาวิชา (Unit of subject matter) ทั้งหน่วยใหญ่และหน่วยย่อย การนิยามของริชชีย์เป็นการให้ความกระจ่างกับความสัมพันธ์ของนักวิจัยซึ่งไม่ได้เกี่ยวข้องกับการออกแบบการเรียนการสอน แต่เป็นผู้ให้ความช่วยเหลือบนพื้นฐานของความรู้ 
        ในขณะที่ไชยยศ เรืองสุวรรณ (ไชยยศ, 2553 : 12) ยังได้เสนอกรอบแนวคิดของกระบวนการออกแบบการเรียนการสอนด้วยว่า มีองค์ประกอบบสี่ประการคือ ผู้เรียน จุดหมาย วิธีสอน และการประเมินผล โดยตั้งคำถามที่ใกล้เคียงกับคำถามของไทเลอร์ (Tyler, 1974 : 1) คือ
                    1.จะออกแบบและพัฒนาโปรแกรมนี้ไว้เพื่อใครเป็นการพิจารณาคุณลักษณะผู้เรียนหรือผู้เข้ารับการฝึกอบรม
                    2.ต้องการให้ผู้เรียน หรือผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้เรียนรู้อะไร หรือมีความสามารถที่จะทำอะไรได้บ้าง เป็นการกำหนดจุดหมายของการเรียน
                    3.ผู้เรียนจะเรียนรู้เนื้อหาวิชาหรือทักษะต่างๆได้ดีที่สุดอย่างไร เป็นการกำหนดวิธีการสอนและกิจกรรมของการเรียนการสอน 
                    4.จะได้รู้อย่างไรว่า ผู้เรียนประสบผลสำเร็จในการเรียนรู้ เป็นการกำหนดกระบวนการประเมินผล 
        การออกแบบระบบการเรียนการสอน (instructional systems design) เป็นกระบวนการเชิง ระบบของการวางแผนระบบการเรียนการสอนและการพัฒนาการเรียนการสอน (instructional development) เป็นกระบวนการของการนําแผนไปใช้ เมื่อรวมหน้าที่ทั้งสองอย่างเข้าด้วยกัน ก็จะ กลายเป็นองค์ประกอบของเทคโนโลยีการเรียนการสอน (instructional technology) ซึ่งเป็นคําที่กว้าง กว่าระบบการเรียนการสอน และอาจนิยามได้ว่า เป็นการประยุกต์ระบบของทฤษฎีและความรู้ที่ใช้ใน ภาระงานของการออกแบบการเรียนการสอนและการพัฒนาเทคโนโลยีการสอน หมายรวมถึงคําถาม ที่เป็นความรู้ใหม่เกี่ยวกับว่า บุคคลเรียนรู้อย่างไร และจะออกแบบระบบการเรียนการสอน หรือวัสดุ อุปกรณ์อย่างไรจึงจะดีที่สุด
       อาจสรุปได้ดังภาพ
       การออกแบบการเรียนการสอน หมายถึง กระบวนการแก้ปัญหาการเรียนการสอนโดยวิเคราะห์สถานการณ์ หรือเงื่อนไขการเรียนรู้อย่างเป็นระบบ แล้วจึงวางแผนการเรียนการสอนอย่างเป็นระบบ เพื่อให้จัดการการเรียนการสอนบรรลุจุดมุ่งหมาย โดยอาศัยความรู้จากหลายๆทฤษฎี เช่น ทฤษฎีการเรียนรู้ ทฤษฎีการสอน ทฤษฎีการติดต่อสื่อสาร ตลอดจน ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์

อ้างอิง
พิจิตรา ธงพานิช. วิชาการออกแบบและการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน. พิมพ์ครั้งที่ 3 นครปฐม : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์, 2560.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม