วันจันทร์ที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

ออกแบบโมลเดลและสรุปความรู้ความเข้าใจ (งานกลุ่ม)

ออกแบบโมลเดลและสรุปความรู้ความเข้าใจ 
(  ง        ลุ่    )
สรุป
         จากภาพแสดงให้เห็นว่าความสำคัญของสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ที่มีคุณภาพโดยการเรียนรู้ที่ผู้เรียนได้ปฏิบัติตนในทางที่ดีคือการเปิดใจยอมรับฟังผู้อื่น มีความเห็นอกเห็นใจ มีทัศนคติที่ดี และมีความรับผิดชอบ จะส่งผลให้เกิดการเรียนรู้ที่มีคุณค่าและเกิดกระบวนการทางความคิดแก่ผู้เรียนที่มีการคิดวิเคราะห์สังเคราะห์ข้อมูลที่ได้รับ และได้ผลลัพธ์จากการประเมินที่มีความน่าเชื่อถือ

หมวดที่ 3 กระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอน

หมวดที่ 3 กระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอน
         ในช่วง 3 ทศวรรษที่ผ่านมา นักการศึกษาไทยได้พยายามที่จะเสนอ แนวคิดเพื่อการพัฒนาการศึกษาและการเรียนการสอนของไทยตลอดมา แต่เริ่มได้รับการตอบรับจากสังคมเมื่อเกิดการเคลื่อนไหวเพื่อการปฏิรูปการศึกษากันอย่างกว้างขวางในช่วง 4 - 5 ปีหลังจากนี้ วิกฤติเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในประเทศไทยในปี พ.ศ. 2540 ได้ทำให้ประเทศตระหนักถึงความสำคัญของการศึกษาเพิ่มขึ้นอย่างมาก จึงปรากฏว่านอกจากนักศึกษาแล้ว ยังได้มีนักคิดจากวงการอื่นที่หันมาให้ความสนใจการศึกษาและเสนอแนะแนวคิดต่าง ๆ อย่างหลากหลาย ในที่นี้ผู้เขียนได้ประมวลแนวคิดที่น่าสนใจเกี่ยวกับกระบวนการต่าง ๆ ซึ่งเกี่ยวข้องกับการเรียนการสอนมานำเสนอจำนวน 7 กระบวนการ กระบวนการเหล่านี้แม้จะยังไม่ได้รับการนำไปทดลองใช้ และทดสอบ พิสูจน์อย่างเป็นระบบ แต่ก็เป็นกระบวนการที่ได้รับความสนใจจากวงการการศึกษาไทยเป็นอย่างมากกระบวนการดังกล่าว ได้แก่

หมวดที่ 2. รูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาโดยนิสิตนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา



หมวดที่ 2. รูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาโดยนิสิตนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา

         ผู้เขียนได้เลือกสรรรูปแบบที่น่าสนใจมานําเสนอ 5 รูปแบบให้ครอบคลุมระดับ การศึกษาตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาล ประถมศึกษา มัธยมศึกษา และอุดมศึกษา รวมทั้งอาชีวศึกษา ดังนี้
         2.1 รูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้วิธีการกิจกรรมทางกายในการสร้างมโนทัศน์ พื้นฐานทางวิทยาศาสตร์สําหรับเด็กก่อนประถมศึกษา พัฒนาโดย เตือนใจ ทองสําริด
         2.2 รูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้สาระอิงบริบทเพื่อส่งเสริมความใฝ่รู้ของนักเรียน ระดับประถมศึกษา พัฒนาโดยวิโรจน์ วัฒนานิมิตกูล
         2.3 รูปแบบการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ตามแนวคิดของทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ สําหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษา พัฒนาโดย ไพจิตร สะดวกการ
         2.4 รูปแบบการเรียนการสอนการเขียนภาษาอังกฤษแบบเน้นกระบวนการสําหรับ นักศึกษาไทยระดับอุดมศึกษา พัฒนาโดย พิมพันธ์ เวสสะโกศล
         2.5 รูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นทักษะปฏิบัติสําหรับครูวิชาอาชีพพัฒนาโดย นวล จิตต์ เชาวกีรติพงศ์

หมวดที่ 1 รูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นโดยนักการศึกษาไทย

หมวดที่ 1 รูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นโดยนักการศึกษาไทย

หมวดที่ 1 รูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นโดยนักการศึกษาไทย
        ผู้เขียนจะนำเสนอ 4 รูปแบบดังนี้
        1.1 รูปแบบการเรียนการสอนทักษะกระบวนการเผชิญสถานการณ์พัฒนาโดยสุมน อมรวิวัฒน์
        1.2 รูปแบบการเรียนการสอนโดยสร้างศรัทธาและโยนิโสมนสิการ พัฒนาโดย สุมน อมรวิวัฒน์
        1.3 รูปแบบการเรียนการสอนกระบวนการคิดเป็นเพื่อการดํารงชีวิตในสังคมไทย พัฒนา โดยหน่วยศึกษานิเทศก์ กรมสามัญศึกษา
        1.4 รูปแบบการเรียนการสอนโดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง : โมเดลซิปปา (CIPPA) พัฒนาโดย ทิศนา แขมมณี

รูปแบบการเรียนการสอนและกระบวนการเรียนการสอนของไทย 3 หมวด


รูปแบบการเรียนการสอนและกระบวนการเรียนการสอนของไทย

        กลุ่มบุคคลที่อยู่ในวงการศึกษาหรือเกี่ยวข้องกับการศึกษาและกลุ่มที่อยู่ในวงการอื่นที่ไม่ใช่ การศึกษาแต่สนใจในเรื่องการจัดการศึกษา ได้นําเสนอแนวคิดในการจัดการเรียนการสอนไว้อย่าง เป็นกระบวนการ คือมีขั้นตอนที่เป็นไปอย่างมีลําดับชัดเจน ซึ่งถึงแม้จะยังไม่ได้รับการทดลองใช้อย่าง เป็นระบบและพิสูจน์ทดสอบประสิทธิภาพตามหลักการแล้วแต่ได้รับความเชื่อถือจากสังคมไม่น้อย ผู้เขียนขอเรียกผลงานในลักษณะดังกล่าวว่าเป็น “กระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอน" ดังนั้นในบทนี้ ผู้เขียนจึงจะนําเสนอรูปแบบและกระบวนการดังกล่าวข้างต้น โดยแบ่งออกเป็น 3 หมวดใหญ่ๆ คือ
หมวดที่ 1 รูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นโดยนักการศึกษาไทย

        1.1 รูปแบบการเรียนการสอนทักษะกระบวนการเผชิญสถานการณ์พัฒนาโดยสุมน อมรวิวัฒน์
        1.2 รูปแบบการเรียนการสอนโดยสร้างศรัทธาและโยนิโสมนสิการ พัฒนาโดย สุมน อมรวิวัฒน์
        1.3 รูปแบบการเรียนการสอนกระบวนการคิดเป็นเพื่อการดํารงชีวิตในสังคมไทย พัฒนา โดยหน่วยศึกษานิเทศก์ กรมสามัญศึกษา
        1.4 รูปแบบการเรียนการสอนโดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง : โมเดลซิปปา (CIPPA) พัฒนาโดย ทิศนา แขมมณี

หมวดที่ 2 รูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาโดยนิสิตักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา
        2.1 รูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้วิธีการกิจกรรมทางกายในการสร้างมโนทัศน์ พื้นฐานทางวิทยาศาสตร์สําหรับเด็กก่อนประถมศึกษา พัฒนาโดย เตือนใจ ทองสําริด
        2.2 รูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้สาระอิงบริบทเพื่อส่งเสริมความใฝ่รู้ของนักเรียน ระดับประถมศึกษา พัฒนาโดยวิโรจน์ วัฒนานิมิตกูล
        2.3 รูปแบบการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ตามแนวคิดของทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ สําหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษา พัฒนาโดย ไพจิตร สะดวกการ
        2.4 รูปแบบการเรียนการสอนการเขียนภาษาอังกฤษแบบเน้นกระบวนการสําหรับ นักศึกษาไทยระดับอุดมศึกษา พัฒนาโดย พิมพันธ์ เวสสะโกศล
        2.5 รูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นทักษะปฏิบัติสําหรับครูวิชาอาชีพพัฒนาโดย นวล จิตต์ เชาวกีรติพงศ์

หมวดที่ 3 กระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอน
        3.1 กระบวนการแก้ปัญหาตามหลักอริยสัจ 4 โดย สาโรช บัวศรี
        3.2 กระบวนการกัลยาณมิตร โดย สุมน อมรวิวัฒน์ 
        3.3 กระบวนการทางปัญญา โดย ประเวศ วะสี 
        3.4 กระบวนการคิด โดย ชัยอนันต์ สมุทวณิช 
        3.5 กระบวนการคิด โดย เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ 
        3.6 มิติการคิดและกระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ โดย ทิศนา แขมมณี และคณะ 
        3.7 กระบวนการสอนค่านิยมและจริยธรรม โดย โกวิท ประวาลพฤกษ์ 
        3.8 กระบวนการต่างๆ โดย กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ
               3.8.1 ทักษะกระบวนการ 9 ขั้น 
               3.8.2 กระบวนการสร้างความคิดรวบยอด 
               3.8.3 กระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ 
               3.8.4 กระบวนการแก้ปัญหา 
               3.8.5 กระบวนการสร้างความตระหนัก 
               3.8.6 กระบวนการปฏิบัติ 
               3.8.7 กระบวนการคณิตศาสตร์ 
               3.8.8 กระบวนการเรียนภาษา 
               3.8.9 กระบวนการกลุ่ม 
               3.8.10 กระบวนการสร้างเจตคติ 
               3.8.11 กระบวนการสร้างค่านิยม 
               3.8.12 กระบวนการเรียนรู้ความเข้าใจ

        อนึ่ง ก่อนนําเสนอรูปแบบและกระบวนการดังกล่าว ผู้เขียนขอทําความเข้าใจก่อนว่า รูปแบบบางรูปแบบที่นําเสนอและผู้เขียนเรียกว่ารูปแบบการเรียนการสอนนั้น บุคคลที่พัฒนารูปแบบนั้นอาจไม่ได้เรียกชื่องานของท่านว่าเป็นรูปแบบการเรียนการสอน บางท่านเรียกว่า “การสอน" "รูปแบบการสอน” “กระบวนการสอน” “การจัดการเรียนการสอน” “การสอนแบบ..." ซึ่งโดยความหมายและลักษณะของผลงานแล้ว ตรงกับความหมายของ "รูปแบบการเรียนการสอน” ทั้งสิ้น
        ดังนั้นผู้เขียนจึงขอใช้คําว่ารูปแบบการเรียนการสอนทั้งหมด เพื่อความเป็นระบบระเบียบ และทําให้ ผู้อ่านไม่เกิดความสับสน

อ้างอิง
พิจิตรา ธงพานิช. วิชาการออกแบบและการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน. พิมพ์ครั้งที่ 3 นครปฐม : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์, 2560.

บทความที่ได้รับความนิยม