วันจันทร์ที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2561

บทบาทของผู้เกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนรู้ตามแนวการปฏิรูปการศึกษา

บทบาทของผู้เกี่ยวข้อง
กับการจัดการเรียนรู้ตามแนวการปฏิรูปการศึกษา


        การจัดการเรียนรู้ตามแนวการปฏิรูปการศึกษาที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญจะเกิดขึ้นได้ต้องอาศัยความร่วมมือของหลายฝ่ายร่วมมือกันพัฒนาและปรับปรุงผู้ที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้ได้แก่ผู้บริหารสถานศึกษาครูผู้สอนศึกษานิเทศพ่อแม่ผู้ปกครองชุมชนองค์กรสถาบันวิชาการหน่วยงานและสื่อมวลชน
        พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่สองพ.ศ. 2545 มาตราที่ 24 กำหนดบทบาทของผู้เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้อย่างชัดเจนโดยการประสานเชื่อมโยงบทบาทของทุกคนให้เกิดการปฏิรูปการศึกษาโดยมีลักษณะสำคัญดังนี้
        บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษา
                1. ปรับเปลี่ยนแนวคิดในการบริหารจัดการ
                2. กำหนดแผนยุทธศาสตร์
                3. ปรับปรุงการบริหารจัดการให้เอื้ออำนวยความสะดวก
                4. พัฒนาสภาพแวดล้อม
                5. จัดให้มีระบบนิเทศภายใน
        บทบาทของครูผู้สอน
                1. ปรับเปลี่ยนแนวคิด
                2. พัฒนาตนเองอยู่เสมอ
                3. ออกแบบการจัดการเรียนรู้และวัดประเมินผลตามสภาพจริง
                4. ทำวิจัยควบคู่กับการเรียนการสอนนำผลมาพัฒนาปรับปรุง
                5. สร้างบรรยากาศให้ผู้เรียนมีส่วนร่วม
                6. ช่วยให้ผู้เรียนพัฒนาและยอมรับ เข้าใจตนเอง
                7. ให้คำปรึกษาด้านการเรียน ชีวิต และแนวทางการพัฒนาตนเอง
                8. ช่วยให้ผู้เรียนมีวุฒิภาวะ รู้ข้อดีข้อเสียของตน
                9. กระตุ้นให้ผู้เรียนกล้าเผชิญปัญหา
                10. ช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจลีลาการเรียนรู้ของตนเอง
                11. ช่วยให้ผู้เรียนรู้จักประเมินตนเอง
                12. เป็นกัลยาณมิตรกับนักเรียน เพื่อนครู และบุคลากรในโรงเรียน
        บทบาทของพ่อแม่ ผู้ปกครอง
                1. ปรับเปลี่ยนแนวคิดเกี่ยวกับกระบวนการเรียนรู้
                2. ให้ความรักและความอบอุ่น
                3. ให้อบรมเลี้ยงดู เอาใจใส่สร้างสุขนิสัยที่ดี
                4. เป็นตัวอย่างแก่บุตรธิดา และปลูกจิตสำนึกในเรื่องวินัยตนเอง
                5. สร้างบรรยากาศเรียนรู้ในบ้าน
                6. ให้คำปรึกษาและแนะนำเสริมแรง
                7. ร่วมมือกับโรงเรียน
                8. เป็นแบบอย่างที่ดีในการดำเนินชีวิต
        บทบาทของชุมชน
                1. ปรับเปลี่ยนแนวคิดเรื่องการปฏิรูปการศึกษา
                2. ให้ความร่วมมือระดมทรัพยากรเพื่อการเรียนรู้
                3. ร่วมมือสร้างสรรค์ในการพัฒนาการศึกษา
                4. ประสานสัมพันธ์กับสถานศึกษา
                5. ดูแลเอาใจใส่พฤติกรรมของเด็ก
        บทบาทของผูเรียน
                ความมุ่งหวังของการปฏิรูปการเรียนรู้ คือ ต้องการให้ผู้เรียนมีลักษณะเก่ง ดี มีความสุข ดังนั้นบทบาทของเรียนควรมีดังนี้
                1. กำหนดเป้าหมายของการศึกษาให้สอดคล้องกับความสามารถ
                2. มีส่วนร่วมในการจัดแผนกระบวนการเรียนรู้
                3. รับผิดชอบต่อการเรียนรู้ของตนเอง
                4. ตระหนักถึงความสำคัญของการศึกษา
                5. ปฏิบัติตนเป็นบุคคลแห่งการศึกษา
                6. รู้จักประเมินตนเองและผู้อื่น
                7. ศรัทธาต่อผู้สอน

อ้างอิง
พิจิตรา ธงพานิช. วิชาการออกแบบและการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน. พิมพ์ครั้งที่ 3 นครปฐม : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์, 2560.


ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับ
การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
ในการจัดการเรียน การสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญมีทฤษฎีที่มีความเกี่ยวข้องต่อไปนี้ 
        1. ทฤษฎีการสรรค์สร้างความรู้ (Constructivism) 
                แนวคิด Constructivism เกี่ยวข้องกับธรรมชาติของความรู้ของมนุษย์ มีความหมายทั้งในเชิงจิตวิทยาและเชิงสังคมวิทยา ทฤษฎีด้านจิตวิทยา เริ่มต้นจาก Jean Piaget ซึ่งเสนอว่า การเรียนรู้ของเด็กเป็นกระบวนการส่วนบุคคลมีความเป็นอัตนัย Vygotsky ได้ขยายขอบเขตการเรียนรู้ของแต่ละบุคคลว่า เกิดจากการสื่อสารทางภาษากับบุคคลอื่น สำหรับด้านสังคมวิทยาEmile Durkheim และคณะ เชื่อว่าสภาพแวดล้อมทางสังคมมีผลต่อการเสริมสร้างความรู้ใหม่  
                ทฤษฎีการเรียนรู้ตามแนว Constructivism จัดเป็นทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มปัญญานิยม (cognitive psychology) มีรากฐานมาจากผลงานของ Ausubel และ Piaget
        2. ทฤษฎีพฤติกรรมนิยม (Behavioral)
                เน้นการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นโดยการเชื่อมโยงระหว่าง สิ่งเร้า (Stimulus-คือสิ่งที่ทำให้เกิดพฤติกรรม) และการตอบสนอง (Response - ตัวพฤติกรรม) โดยอินทรีย์จะต้องสร้างความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้าและการตอบสนองอันนำไปสู่ความสามารถในการแสดงพฤติกรรม คือ เกิดการเรียนรู้นั่นเอง ซึ่งจะเน้นเกี่ยวกับสิ่งที่สังเกตได้เท่านั้น ในการเรียนรู้ความจริงกลุ่มนี้ก็สนใจเกี่ยวกับกระบวนการคิดและปฏิกิริยาซึ่งเกิดขึ้นภายในเหมือนกัน แต่ว่ายากแก่การสังเกตและรู้สึกว่ามิใช่เป็นข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ ดังนั้นจึงสนใจเฉพาะสิ่งที่สังเกตได้เท่านั้น การที่กลุ่มนี้ให้ความสนใจกระบวนการคิดซึ่งเกิดขึ้นภายในและปฏิกิริยาของผู้เรียนน้อยเพราะศึกษาทดลองโดยสัตว์ชั้นต่ำ เช่น หนู เป็นต้น ผู้นำที่สำคัญของกลุ่มนี้ เช่น พาพลอฟ (Ivan Pavlov) ธอร์นไดค์ (Edward Thondike) และ สกินเนอร์ (B.F Skinner) พื้นฐานความคิดของกลุ่มพฤติกรรมนิยมคือสิ่งแวดล้อมและประสบการณ์จะเป็นตัวกำหนดพฤติกรรม
        3. ทฤษฎีพุทธินิยม (Cognitivism)
                เน้นกระบวนการทางปัญญาหรือความคิด นักคิดกลุ่มนี้เริ่มขยายขอบเขตของความคิดที่เน้นทางด้านพฤติกรรมออกไปสู่กระบวนการทางความคิด ซึ่งเป็นกระบวนการภายในของสมอง นักคิดกลุ่มนี้เชื่อว่าการเรียนรู้ของมนุษย์ไม่ใช่เรื่องของพฤติกรรมที่เกิดจากกระบวนการตอบสนองต่อสิ่งเร้าเพียงเท่านั้น การเรียนรู้ของมนุษย์มีความซับซ้อนยิ่งไปกว่านั้น การเรียนรู้เป็นกระบวนการทางความคิดที่เกิดจาการสะสมข้อมูล การสร้างความหมาย และความสัมพันธ์ของข้อมูลและการดึงข้อมูลออกมาใช้ในการกระทำและการแก้ปัญหาต่างๆ 
        4. ทฤษฎีมนุษย์นิยม (Humanism)
                ทฤษฎีมนุษยนิยมมีวิวัฒนาการมาจากทฤษฎีกลุ่มที่เน้นการพัฒนาตามธรรมชาติ แต่ก็จะมีความเป็นวิทยาศาสตร์ คือเป็นกระบวนการมากยิ่งขึ้น กลุ่มทฤษฎีมนุษยนิยมเป็นทฤษฎีที่คัดค้านการทดลองเกี่ยวกับพฤติกรรมของสัตว์แล้วมาใช้อ้างอิงกับมนุษย์และปฏิเสธที่จะใช้คนเป็นเครื่องทดลองแทนสัตว์ นักทฤษฎีในกลุ่มนี้เห็นว่ามนุษย์มีความคิด มีสมอง มีอารมณ์และอิสรภาพในการกระทำ การเรียนการสอนตามแนวทฤษฎีนี้เชื่อว่าผู้เรียนเป็นศูนย์กลางของการเรียน การจัดการเรียนการสอนจึงมุ่งให้เกิดการเรียนรู้ทั้งด้านความเข้าใจ ทักษะและเจตคติไปพร้อม ๆ กันโดยให้ความสำคัญกับความรู้สึกนึกคิด ค่านิยม การแสดงออกตลอดจนการเลือกเรียนตามความสนใจของผู้เรียนเป็นหลัก บรรยากาศในการเรียนเป็นแบบร่วมมือกันมากกว่าการแข่งขันกันอาจารย์ผู้สอนทำหน้าที่ช่วยเหลือให้กำลังใจและอำนวยความสะดวกในขบวนการเรียนของผู้เรียนโดยการจัดมวลประสบการณ์ เอื้อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้
                หลักการหรือความเชื่อของทฤษฎีมนุษย์นิยม คือ
                1. มนุษย์มีธรรมชาติแห่งความกระตือรือร้นที่จะเรียนรู้
                2. มนุษย์มีสิทธิในการต่อต้านหรือไม่พอใจในผลที่เกิดขึ้นจากสิ่งต่างๆ แม้สิ่งนั้นจะได้รับการยอมรับว่าจริง
                3. การเรียนรู้ที่สำคัญที่สุดของมนุษย์ คือ การที่มนุษย์มีการเปลี่ยนแปลงแนวความคิด หรือมโนทัศน์ของตนเอง

อ้างอิง
พิจิตรา ธงพานิช. วิชาการออกแบบและการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน. พิมพ์ครั้งที่ 3 นครปฐม : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์, 2560.

แหล่งข้อมูลอ้างอิง
http://013nawattakam.blogspot.com/2015/09/blog-post_59.html
https://sites.google.com/site/wingsswagger/3-thvsdi-thangkar-phyabal-sukhphaph-cit/3-4-thvsdi-mnusy
https://teacherweekly.wordpress.com/2013/09/25/constructivist-theory/

วิธีสอนตามแนวปฏิรูปการศึกษา

วิธีสอนตามแนวปฏิรูปการศึกษา


        วิธีการสอนในปัจจุบันตามแนวปฏิรูปการศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติและฉบับแก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่สองเรียกว่าวิธีการจัดการเรียนรู้ซึ่งในมาตรา 22 ระบุว่าการจัดการศึกษาต้องยึดหลักว่าผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้โดยมีหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพ.ศ. 2551 เป็นกรอบหรือทิศทางมุ่งให้แสวงหาวิธีการจัดการเรียนรู้ที่มุ่งให้เกิดความสมดุลย์ทั้งด้านปัญญาความคิดและด้านอารมณ์โดยความสามารถทางปัญญาและความคิดได้แก่ความคิดสร้างสรรค์และความคิดวิจารณญาณส่วนความสามารถทางอารมณ์ 
การสอนแบบโครงงาน
        เป็นรูปแบบการเรียนการสอนที่ มุ่งส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ค้นหาความสามารถความถนัดและความสนใจของตนเองในด้านต่างๆมาจากแนวคิดพื้นฐานของการเรียนรู้โดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางและการเรียนรู้ตามสภาพจริงโดยมีการศึกษาหลักการและวิธีเกี่ยว กลับโครงงานที่เลือกศึกษาวิเคราะห์วางแผนการทำงานลงมือทำงานและปรับปรุงเพื่อให้งานบรรลุตามวัตถุประสงค์ในกระบวนการเรียนการสอนได้ใช้ทักษะกระบวนการสอดแทรกคุณธรรมทำงานเป็นกลุ่มฝึกปฏิบัติจริงเน้นผู้เรียนมีส่วนร่วมมีครูเป็นผู้ชี้แนะให้คำปรึกษาตลอดเวลาเน้นฝึกคนให้แสวงหาความรู้ด้วยตนเอง
วิธีการสอนแบบ 4 MAT 
        เป็นนวัตกรรมการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับแนวคิดในเรื่องความแตกต่างระหว่าง บุคคลการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางรวมทั้งการพัฒนาศักยภาพของผู้เรียนให้เป็นคนดีมีปัญญารวมทั้งมีความสุขแนวคิดนี้มาจากเบอร์นิส แมสคาร์ที ซึ่งได้นำผลการสังเคราะห์งานวิจัยที่เกี่ยวกับรูปแบบการเรียนรู้ของผู้เรียนและผลการศึกษาด้านพัฒนาสมองสองซี่ได้แก่ความสามารถของสมองซีกขวาคือการสังเคราะห์การคิดสร้างสรรค์การใช้สามัญสำนึกการคิดแบบหลากหลายและความสามารถของสมองซีกซ้ายคือการคิดวิเคราะห์การคิดหาเหตุผลการคิดแบบปรนัยการคิดแบบมีทิศทางตอบสนองการพัฒนาศักยภาพทุกด้านของผู้เรียนที่มีรูปแบบและลักษณะเรียนรู้ที่แตกต่างกัน
วิธีการสอนแบบร่วมมือ 
        สเปนเซอร์ คาเกน นักศึกษาชาวสหรัฐอเมริกาได้ทำการวิจัยและพัฒนารูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมืออย่างจริงจังมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1985 และได้เผยแพร่ผลงานอย่างกว้างขวางในสหรัฐอเมริกาและในหลายประเทศในแถบเอเชียโดยมีการนำมาใช้ในการเรียนการสอนต่างๆโดยเฉพาะอย่างยิ่งวิชาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์และได้นำเสนอแนวคิดหลักที่จะนำไปสู่การเรียนรู้แบบร่วมมืออย่างมีประสิทธิผล
วิธีสอนแบบบูรณาการ
        เป็นการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยเชื่อมโยงระหว่างประสบการณ์เดิมและประสบการณ์ใหม่และเป็นประสบการณ์ตรงที่เชื่อมโยงความสัมพันธ์ในวิชาการหลายๆ แขนง ในลักษณะสห วิทยาการโดยใช้กระบวนการเรียนรู้กระบวนการคิดกระบวนการแก้ปัญหาและกระบวนการแสวงหาความรู้ที่เชื่อมโยงทั้งหลักสูตรและวิธีการจัดการเรียนรู้ตลอดจนแนวคิดของผู้เรียนเพื่อให้เกิดความรู้แบบองค์รวมเพื่อนำไปประยุกต์ใช้กับชีวิตประจำวัน
วิธีสอนแบบเล่าเรื่อง
        เป็นวิธีสอนวิธีหนึ่งที่จัดเนื้อหาสาระของแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้มาบูรณาการกันโดยใช้กลุ่มสาระการเรียนรู้ใดกลุ่มสาระการเรียนรู้หนึ่งเป็นแกนหลักส่วนมากจะยึดเนื้อหาสาระสังคมศึกษาหรือวิทยาศาสตร์หรือสุขศึกษาเป็นแก่นเรื่องแล้วนำกลุ่มสาระการเรียนรู้ต่างๆในหลักสูตรมาบูรณาการทั้งภาษาไทยศิลปะคณิตศาสการจัดการเรียนรู้แบบนี้จะเป็นการสมมุติเรื่องราวหรือสถานการณ์ที่เกิดขึ้นให้สดของกันเนื้อหาสาระที่จะเรียนโดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
วิธีการสอนแบบปุจฉาวิสัชนา
        เป็นการเรียนรู้แบบถามตอบเพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนรู้จักคิดและรู้จักหาคำตอบด้วยตนเองการตั้งคำถามผู้ตั้งคำถามจะต้องใช้ความคิดในการตั้งคำถามขณะเดียวกันผู้ตั้งคำถามจะต้องให้คำตอบอยู่ในใจการสอนแบบนี้ในการจัดการเรียนรู้จึงส่งเสริมให้ผู้เรียนได้คิดวิเคราะห์วิจารณ์และผู้เรียนรู้เกี่ยวกับภาษาในการสื่อสารวิธีการสอนแบบนี้ปุจฉาวิสัชนา จะใช้ในการเรียนรู้ได้ ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้
วิธีการสอนแบบโครงสร้างความรู้หรือแผนผังความคิด
        เป็นการฝึกให้ผู้เรียนรวบรวมข้อมูลหรือความรู้จากการศึกษาค้นคว้าการอ่านการฟังคำบรรยายแล้วนำข้อมูลมาจัดกลุ่มเขียนเป็นภาพแสดงให้เห็นถึงโครงสร้างความคิดกระบวนการคิดและความสัมพันธ์ของกระบวนการโดยใช้รูปภาพ
อ้างอิง
พิจิตรา ธงพานิช. วิชาการออกแบบและการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน. พิมพ์ครั้งที่ 3 นครปฐม : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์, 2560.

การปฏิรูปการเรียนรู้ที่ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ

การปฏิรูปการเรียนรู้ที่ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ


        คำว่า ผู้เรียนเป็นสำคัญ มาจากบทบัญญัติในมาตรา 22 แห่งพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติที่บัญญัติไว้ว่าการจัดการศึกษาต้องยึดหลักว่าผู้เรียนทุกคนมีความสามารถในการเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้และถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุดกระบวนการจัดการศึกษาต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเติมเต็มศักยภาพสำหรับการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญนี้เป็นหลักการจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้นบนพื้นฐานทฤษฎีการเรียนรู้หลายทฤษฎีเช่นพุทธะปรัชญาจิตวิทยาสาามนุษยนิยม (Humanistic Approach) ทฤษฎีการเรียนรู้จากประสบการณ์ (Experiential Learning)

อ้างอิง
พิจิตรา ธงพานิช. วิชาการออกแบบและการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน. พิมพ์ครั้งที่ 3 นครปฐม : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์, 2560.

แนวทางการจัดการเรียนรู้ตามแนวปฏิรูปการศึกษา

แนวทางการจัดการเรียนรู้ตามแนวปฏิรูปการศึกษา
         การจัดการเรียนรู้ตามแนวการปฏิรูปการศึกษายึดหลักการตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และแก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่สองพ.ศ. 2545 ว่าการจัดการศึกษาต้องยึดผู้เรียนเป็นสำคัญและมุ่งประโยชน์สูงสุดแก่ผู้เรียนซึ่งเป็นความหมายเดียวกันกับการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางคือการยึดผู้เรียนเป็นหลักวิธีการนี้ได้พัฒนาเป็นเวลานานมากกว่า 80 ปีแล้วปัจจุบันได้มีผู้นำเสนอแนวทางในการจัดการเรียนรู้ที่ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญเป็นการจัดการเรียนรู้ที่ทำให้ผู้เรียนไปสู่จุดหมายไปทางที่พึงประสงค์ได้สองวิธีคือ
         1. การจัดการเรียนรู้โดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางโดยผู้เรียนจะเป็นผู้ทำกิจกรรมเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ด้วยตนเองผู้สอนเป็นผู้อำนวยความสะดวกความรู้เป็นผลพลอยได้จากการทำกิจกรรมระหว่างทำกิจกรรมเด็กผู้เรียนก็จะต้องพัฒนาตนเองทางการคิดการปฏิบัติการแก้ปัญหาการทำงานร่วมกันการวางแผนการจัดการและเทคนิควิธีการต่างๆที่เรียกว่าเรียนรู้วิธีการหาความรู้
         2. จัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้เป็นกระบวนการหมายถึงการมีขั้นตอนต่างๆให้ผู้เรียนได้แสดงออกหรือปฏิบัติโดยใช้ร่างกายความคิดการพูดเพื่อให้เกิดผลลัพธ์คือความรู้หลังจากทำกิจกรรมและมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมคุณสมบัติทางความรู้ความคิดทักษะความสามารถทางการปฎิบัติตลอดทั้งเกิดเจตนาคติค่านิยมที่ดีงาม
นอกจากนี้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ (2543, หน้า 7) ได้สรุปประเด็นสาระสำคัญของการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญไว้ดังนี้
         ประเด็นที่ 1 การเรียนรู้โดยการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง หมายถึง การเรียนรู้มี่เป็นกระบวนการสร้างประสบการณ์และสิ่งต่างๆที่ให้ความหมายต่อตนเองจากการปฎิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม
         ประเด็นที่ 2 การเรียนรู้เรื่องของตนเองธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หมายถึง การเรียนรู้เพื่อเชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างร่างกายและจิตใจของตนเองการรับรู้และตระหนักในตนเองสามารถปรับเปลี่ยนทัศนคติและพฤติกรรมให้สอดคล้องกับค่านิยมที่ดี
         ประเด็นที่ 3 การเรียนรู้ที่มุ่งพัฒนาทักษะการดำรงชีวิตและการประกอบอาชีพ 
                  3.1 การเรียนรู้ที่มุ่งพัฒนาทักษะการดำรงชีวิต  หมายถึง การเรียนรู้ที่ทำให้ผู้เรียนมีทักษะชีวิตที่สำคัญและจำเป็น
                  3.2 การเรียนรู้ที่มุ่งพัฒนาทักษะการประกอบอาชีพ  หมายถึงการเรียนรู้เพื่อค้นพบและใช้ศักยภาพของตนเพื่อเตรียมตัวประกอบอาชีพให้เหมาะสมกับตนเอง
         ประเด็นที่ 4 การเรียนรู้ที่มุ่งพัฒนากระบวนการคิดการแก้ปัญหาโดยเน้นประสบการณ์และการฝึกปฏิบัติ  หมายถึงการใช้ทักษะการคิดเพื่อหาคำตอบในสถานการณ์ต่างๆ โดยอาศัยประสบการณ์และการฝึกปฏิบัติจริง
         ประเด็นที่ 5 การเรียนรู้โดยผสมผสานความรู้  คุณธรรม ค่านิยม และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ หมายถึง การเรียนรู้ที่มุ่งให้มีความรู้ในศาสตร์ต่างๆควบคู่กับการพัฒนาตนเอง
         ประเด็นที่ 6 การเรียนรู้ที่มุ่งพัฒนาประชาธิปไตย  หมายถึง การเรียนรู้ในเรื่องสิทธิเสรีภาพความเสมอภาคและการปฏิบัติตามหน้าที่ของตน
         ประเด็นที่ 7 การเรียนรู้เรื่องภูมิปัญญาและศิลปวัฒนธรรม  หมายถึง การเรียนรู้เพื่อให้เกิดคววามรู้ ความเข้าใจตระหนักในความรู้ต่างๆที่คิดค้นและสั่งสมประสบการณ์ต่างๆโดยภูมิปัญญาไทย
         ประเด็นที่ 8 การวิจัยเพื่อพัฒนากระบวนการเรียนรู้  หมายถึง การศึกษารวบรวมข้อมูลเพื่อนำมาวิเคราะห์ สังเคราะห์ สรุปผลเพื่อแก้ไขปัญหา
         ประเด็นที่ 9 การเรียนรู้โดยความร่วมมือของครอบครัวและชุมชน หมายถึง การที่ครอบครัว ชุมชน และสถานศึกษามีบทบาทร่วมกันในการจัดกระบวนการเรียนรู้ให้กับผู้เรียน
         ประเด็นที่ 10 การประเมินผลผู้เรียน   หมายถึง กระบวนการพิจารณาตัดสินคุณภาพคุณลักษณะและพฤติกรรมของผู้เรียน

อ้างอิง
พิจิตรา ธงพานิช. วิชาการออกแบบและการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน. พิมพ์ครั้งที่ 3 นครปฐม : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์, 2560.

ความจำเป็นในการจัดการเรียนรู้ตามแนวปฏิรูปการศึกษา

ความจำเป็นในการจัดการเรียนรู้
ตามแนวปฏิรูปการศึกษา
        สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ (2543, หน้า 4-5) ที่ได้สรุปถึงความจำเป็นในการจัดการเรียนรู้หรือปฏิรูปการเรียนรู้ตามแนวปฏิรูปการศึกษาซึ่งสามารถสังเคราะห์ได้ดังนี้
        1. ปฏิรูปการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณภาพของคนไทยการปฏิรูปวัฒนธรรมการเรียนรู้ใหม่จะช่วยพัฒนาคนไทยให้เป็นคนที่มีความรู้คู่คุณธรรมตัวหลักในคุณค่าของตนเองผู้อื่นและสรรพสิ่งทั้งหลายรู้จักควบคุมตนเองให้อยู่ในคลองลองแห่งความดีงามรับผิดชอบต่อหน้าที่ของตนเป็นคนมีเหตุผลยอมรับฟังความเห็นของผู้อื่น เคารพกติกาของสังคมมีความขยันซื่อสัตย์และเสียสละเพื่อส่วนรวมมีความสามารถในการใช้ศักยภาพของสมองได้ทั้งซิกซ้ายและซีกขวาอย่างได้สัดส่วนสมดุลย์กันคือความสามารถในด้านการใช้ภาษาสื่อสารการคำนวนการวิเคราะห์แบบวิทยาศาสตร์คิดเป็นระบบสามารถใช้สติ ปัญญาอย่างเฉลียวฉลาดลึกซึ้งเพื่อเรียนรู้ให้บรรลุความจริงความดีความงามของสรรพสิ่งเป็นคนที่มีสุขภาพกายดีมีวุฒิภาวะทางอารมณ์บุคลิกภาพ ร่าเริงแจ่มใสจิตใจอ่อนโยนและเกื้อกูลมีมนุษย์สัมพันธ์ดีเผชิญหน้าและแก้ปัญหาได้ดำรงชีวิตอย่างอิสระและอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข
        2. ปฏิรูปการเรียนรู้เพื่อเพิ่มพูนความเข้มแข็งของสังคมไทยให้สมาชิกของสังคมมีจิตสำนึกร่วมกันในการเผชิญสถานการณ์และแก้ปัญหาของส่วนรวมมีการบริหารอย่างถูกต้องแยบยลลดความขัดแย้งทุกคนมีความรับผิดชอบที่จะนำพาสังคมให้ก้าวหน้าและเข้มแข็ง
        3. ปฏิรูปการเรียนรู้เพื่อให้สอดคล้องกับวัฒนธรรมและบริบทการเรียนรู้ในยุคโลกาภิวัตน์การจัดกระบวนการเรียนรู้ต้องจัดให้สอดคล้องกับโลกยุคโลกาภิวัตน์ที่วิทยาการเจริญรุดหน้าความรู้และสอบวิทยาการเดินทางไปในที่ต่างๆด้วยความรวดเร็วข้อมูลและข่าวสารต่างๆเกิดขึ้นและเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ผู้เรียนต้องมีความคล่องแคล่วไฟการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่เช่นคอมพิวเตอร์อินเตอร์เน็ตและรู้จักสังเคราะห์ข้อมูลข่าวสารเหล่านี้มาใช้ให้เกิดประโยชน์กับชีวิตของตนครอบครัวสังคมและประเทศชาติ
        4. ปฏิรูปการเรียนรู้เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียนการปฏิรูปการเรียนรู้จะเปิดโอกาสให้ครูผู้สอนพ่อแม่ผู้ปกครองและสังคมไทยทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมในการดำเนินตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพ.ศ. 2542 และแก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่สองพ.ศ. 2545 ต้นการเปิดแนวทางให้ครูพ่อแม่ผู้ปกครองและชุมชนมีอิสระในการอบรมเลี้ยงดูในการศึกษาจัดหลักสูตรอันจะเป็นการเกื้อหนุน ซึ่งกันและกัน
        5. ปฏิรูปการเรียนรู้เพื่อให้สอดคล้องกับกฎหมายการปฏิรูปการเรียนรู้เป็นหัวใจของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพ.ศ. 2542 และแก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่สองพ.ศ. 2545 จึงเป็นภารกิจที่มีกฎหมาย

อ้างอิง
พิจิตรา ธงพานิช. วิชาการออกแบบและการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน. พิมพ์ครั้งที่ 3 นครปฐม : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์, 2560.

การจัดการเรียนรู้ตามแนวปฏิรูปการศึกษา

การจัดการเรียนรู้ตามแนวปฏิรูปการศึกษา

         โฉมหน้าการศึกษาของประเทศไทยในปัจจุบัน มุ่งไปสู่การให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ซึ่งการเรียนรู้มิใช่เป็นเพียงเรียนเพื่อรู้เท่านั้น แต่เป็นการเรียนเพื่อเพิ่มพูนประสบการณ์เรียนเพื่อรู้จักตัวเอง เรือนเพื่อรู้จักอยู่ร่วมกับผู้อื่น เรียนรู้เพื่อการเจริญงอกงามทั้งร่างกายและจิตใจ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือการให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ ซึ่งถือว่าเป็นแกนหลักของการปฏิรูปและเป็นหัวใจของการปฏิรูปการศึกษา ดังที่ประเวศ วะสี (2541, หน้า 68) กล่าวว่าการปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้เป็นหัวใจของการปฏิรูปการศึกษาเพราะเป็นการปฏิรูปแนวคิดเกี่ยวกับการศึกษา จากเดิมที่การมองคนเป็นวัตถุที่จะต้องหล่อหลอมปั้นตกแต่งโดยการสั่งสอน อบรม ไปเป็นการมองคนในฐานะคนเป็นผู้มีศักยภาพในการเรียนรู้และงอกงามอย่างหลากหลาย
         สำหรับประเทศไทยได้จัดการเรียนรู้ตามแนวการปฏิรูปการศึกษามาระยะหนึ่ง โดยมีพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และฉบับแก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่สอง พ.ศ. 2545 เป็นแม่บทหรือเทศทางและนำลงสู่การปฏิบัติด้วยการกำหนดเนื้อหาสาระที่เกี่ยวข้องและสำคัญหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2544 และพัฒนาเป็นหลักสูตรสถานศึกษาสำหรับสถานศึกษาแต่ละแห่งตามความเหมาะสม จากผลการจัดการเรียนรู้ตามแนวการปฏิรูปการศึกษานี้พบว่า บางพื้นที่ยังมีปัญหาอยู่บ้าง เช่นผลการวิจัยของสำราญ ตติชรา (2547, หน้า 1) การศึกษาปัญหาการจัดการเรียนการสอนตามแนวการปฏิรูปการศึกษา ของครูในโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงานการประถมศึกษาอำเภอเมืองตราด พบว่าการจัดการเรียนการสอนหรือการจัดการเรียนรู้ตามแนวปฏิรูปการศึกษาของครูในโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงานการประถมศึกษาอำเภอเมืองตราด ยังมีปัญหาอยู่หลายประเด็นตามลำดับ คือ การประชาสัมพันธ์การสอนการจัดทำหลักสูตรท้องถิ่น การสอนที่เน้นกระบวนการคิดวิเคราะห์ การจัดสภาพแวดล้อมทางการสอนการให้ชุมชนมีส่วนร่วม ในการจัดการเรียนการสอนการประเมินผลตามสภาพจริง การสอนโดยยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ การทำวิจัยในชั้นเรียน การให้ผู้เรียนค้นคว้าด้วยตนเอง และเมื่อเปรียบเทียบปัญหาต่าง ๆ ในการจัดการเรียนรู้ปรากฏว่า ผลของปัญหาไม่แตกต่างกัน ดังนั้น ผู้ที่ปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้ตามแนวการปฏิรูปการศึกษา จำเป็นต้องศึกษาและทำความเข้าใจ เกี่ยวกับพื้นฐานเรื่องนี้อย่างทองแท้จนสามารถนำไปปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพ

อ้างอิง
พิจิตรา ธงพานิช. วิชาการออกแบบและการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน. พิมพ์ครั้งที่ 3 นครปฐม : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์, 2560.

บทความที่ได้รับความนิยม