วันจันทร์ที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2561

ตัวอย่างการจัดการเรียนรู้ KWLH

ตัวอย่างการจัดการเรียนรู้ KWLH เรื่อง "น้ำ"

Know
รู้อะไรบ้างจากคำว่า
น้ำ
What to learn
ต้องการรู้อะไรจาก
เรื่อง น้ำ
What they learn as they read
รู้อะไรบ้างจากการอ่าน
เรื่อง น้ำ
How we can learned more
จะหาความรู้เพิ่มเติมโดยวิธีใด
·      น้ำมีสถานะเป็นของเหลว ของแข็ง และไอน้ำ
·      มีสูตรเคมีคือ H2O
·      ร่างกายสิ่งมีชีวิตส่วนมากจะประกอบไปด้วยน้ำเป็นส่วนใหญ่
·      น้ำเป็นสิ่งสำคัญต่อพืชและสัตว์
·      น้ำไม่มีสี และไม่มีกลิ่น
·      เราใช้น้ำในการใช้ชีวิตไม่ว่าจะเป็น การกิน อาบน้ำ ล้างหน้า แปรงฟัน ล้างถ้วยจาน ล้างรถ เป็นต้น
·      แม่น้ำยังมีความสำคัญต่อวิถีชีวิตของมนุษย์ ทั้งทางด้านอาหาร
·      ด้านการเดินทาง เป็นต้น
·      แม่น้ำยังมีความเกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมประเพณี เช่น การแข่งเรือหางยาว ประเพณีไหลเรือไฟ
·      ประเพณีลอยกระทง
·      คนสมัยก่อนใช้น้ำเป็นตัวจับเวลาโดย ใช้กะลามะพร้าวคู่กัน
·      เมื่อเกิดเหตุไฟไหม้เราสามารถใช้น้ำดับไฟได้
·      น้ำสามารถเป็นโทษได้ เช่น น้ำท่วม หรืออุทกภัย น้ำเน่าส่งกลิ่นเหม็นทำให้สัตว์น้ำเดือดร้อน
·      น้ำอยู่ทุกที่ไม่ว่าจะเป็นอากาศ บนดิน ใต้ดิน

·      ถ้าร่างกายขาดน้ำจะส่งผลเสียอะไรบ้าง
·      กินน้ำเยอะๆจะมีผลเสียอะไรบ้าง
·      ทำไมร่างกายถึงต้องการน้ำ
·      ต้องดื่มน้ำในปริมาณเท่าใดถึงจะส่งผลดีที่สุด
·      ดื่มน้ำแร่ต่างจากน้ำดื่มทั่วไปอย่างไร
·      นอกจากใช้น้ำในการทำกิจกรรมต่างๆแล้วยังมีการใช้ประโยชน์ด้านใดอีกบ้าง
·      น้ำเป็นสารประกอบเคมีชนิดหนึ่ง มีสูตรเคมีคือ H2
·      โมเลกุลของน้ำประกอบด้วยออกซิเจน 1 อะตอมและไฮโดรเจน 2 อะตอมเชื่อมติดกันด้วยพันธะโควาเลนต์
·      น้ำเป็นของเหลวที่อุณหภูมิและความดันมาตรฐาน แต่พบบนโลกที่สถานะของแข็ง (น้ำแข็ง) และสถานะแก๊ส (ไอน้ำ) น้ำยังมีในสถานะของผลึกของเหลวที่บริเวณพื้นผิวที่ขอบน้ำ
·      ปกติน้ำบริสุทธิ์จะไม่มีรสชาติและไม่มีกลิ่น
·      น้ำ(Water) เป็นสิ่งสำคัญสำหรับสิ่งมีชีวิตทุกชนิดไม่ว่าจะเป็น พืช สัตว์ โดยเฉพาะมนุษย์เราที่ต้องการน้ำประมาณวันละ 1 - 1.5 ลิตร เพื่อทดแทนน้ำที่เราสูญเสียไปวันละ 1 - 1.5 ลิตรเหมือนกัน
·      น้ำบนโลกมีปริมาณมากมายและมีอยู่ทุกที่ บนดิน ใต้ดิน และอากาศ
·      ภาวะที่ร่างกายขาดน้ำ อาจเกิดเนื่องจากการได้รับน้ำไม่เพียงพอ หรือหากขาดน้ำอย่างรุนแรง อาจเกิดจากการอาเจียน หรือท้องร่วง หรือขาดโซเดียมไอออนอย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งหากสูญเสียน้ำน้อยกว่า 5 เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักตัว จะส่งผลให้เกิดอาการดังต่อไปนี้
·      รู้สึกกระหายน้ำ
·      น้ำหนักตัวลดลง
·      ริมฝีปากและผิวหนังแห้ง ตาโหล ชีพจรเต้นเร็ว
·      ถ้าร่างกายขาดน้ำมากๆ ปริมาณเลือดจะลดลง มีเลือดออกจากหัวใจน้อยลง ความดันโลหิตต่ำลง อ่อนเพลีย
·      ส่งผลทำให้อวัยวะต่างๆ และเซลล์สมองขาดออกซิเจนและสารอาหาร
·      ร่างกายไม่สามารถขับความร้อนที่มากเกินพอออกทางเหงื่อ จะทำให้เกิดอุณหภูมิของร่างกายสูงขึ้น
·      (hyperthermia) และเกิดอาการเป็นลมแพ้ร้อนหรือลมแดด (heat stroke)
·      การทำงานของไตผิดปกติ
·      เกิดการเปลี่ยนแปลงภาวะสมดุลของกรด-ด่างในร่างกาย
·      มีปัสสาวะน้อยและมีความเข้มข้นมากกว่าปกติ อาจทำให้เกิดการตกตะกอนได้
·      น้ำก็ทำลายสุขภาพได้เหมือนกัน หากดื่มมากเกินไป
·      หากเปรียบเทียบระหว่าง น้ำแร่ กับ น้ำเปล่า จะพบว่า น้ำทั้งสองชนิดไม่ได้มีความแตกต่างกันมาก เพราะน้ำเปล่าก็มีแร่ธาตุเหมือนน้ำแร่ผสมปนอยู่เพียงแต่มีน้อยกว่าเท่านั้นเอง
·      อินเตอร์เนท
·      หนังสือ
·      วิจัย
·      เข้าร่วมกิจกรรมหรือโครงการต่าง
·      ทดลอง
·      สังเกต

หน่วยที่ 3 เทคนิควิธีการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญเพื่อนำไปสู่การจัดการเรียนการสอน


เทคนิควิธีการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
เพื่อนำไปสู่การจัดการเรียนการสอน

การเรียนรู้อย่างตื่นตัว (active participation)
หมายถึง การมีส่วนร่วมที่ผู้เรียนรู้เป็นผู้จัดกระทําต่อสิ่งเร้า (สิ่งที่เรียนรู้) มิใช่เพียงการรับสิ่ง เร้าหรือการมีส่วนร่วมอย่างเป็นผู้รับเท่านั้น การมีส่วนร่วมอย่างตื่นตัวจะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ อย่างแท้จริงได้ดี ควรเป็นการตื่นตัวทางด้านร่างกาย สติปัญญา สังคม อารมณ์
การเรียนรู้ที่แท้จริง
หมายถึง ผลการเรียนรู้ที่เกิดขึ้น ซึ่งอาจเป็นความรู้ ความเข้าใจ ทักษะ เจตคติ คุณลักษณะ ฯลฯ) จากกระบวนการที่บุคคลรับรู้และจัดกระทําต่อสิ่งเร้าต่างๆ เพื่อสร้างความหมายของสิ่งเร้า (สิ่งที่เรียนรู้) นั้น เชื่อมโยงกับความรู้และประสบการณ์เดิมของตน จนเกิดเป็นความหมายที่ตนเข้าใจ อย่างแท้จริง และสามารถอธิบายตามความเข้าใจของตนได้
เทคนิคกับวิธีสอน คืออะไร ?
วิธีสอน หมายถึง
ขั้นตอนที่ผู้สอนดําเนินการให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามจุดประสงค์ด้วยวิธีการต่างๆ ที่แตกต่างกันไปตามองค์ประกอบและขั้นตอนสําคัญอันเป็นลักษณะเด่นหรือลักษณะเฉพาะที่ขาด
ไม่ได้ของวิธีนั้นๆ (ทิศนา แขมมณี, 2550)
เทคนิคการสอน หมายถึง
กลวิธีต่างๆ ที่ใช้เสริมขั้นตอนการสอน กระบวนการสอน วิธีการสอน หรือการกระทําใดๆ ทางการสอน เพื่อช่วยให้การสอนมีคุณภาพมากขึ้น (รู้เร็ว ลึก นาน)
........
วิธีสอนแบบบทบาทสมมติ (Role Playing)
วิธีนี้เป็นกระบวนการที่ผู้สอนใช้ในการช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ที่ กําหนดโดยให้ผู้เรียนสวมบทบาทในสถานการณ์ซึ่งมีความใกล้เคียงกับความเป็นจริง และแสดงออก ตามความรู้สึกนึกคิดของตน และนําเอาการแสดงออกของผู้แสดง ทั้งด้านความรู้ ความคิด ความรู้สึก และพฤติกรรมที่สังเกตพบมาเป็นข้อมูลในการอภิปราย

หน่วยที่ 2 รูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ


รูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
เทคนิค/วิธีการสอน
ทักษะ/พฤติกรรมที่มุ่งเน้น
บทบาทผู้เรียน
1.กระบว­นการสืบค้น
·  การศึกษาค้นคว้า
·  การเรียนรู้กับกระบวนการ
·  การตัดสินใจ
·  ความคิดสร้างสรรค์
    ศึกษาค้นคว้าเพื่อสืบค้นข้อความรู้ด้วยตนเอง
2.การเรียนรู้แบบค้นพบ
·  การสังเกต การสืบค้น
·  การใช้เหตุผล การอ้างอิง
·  การสร้างสมมุติฐาน
    ศึกษาค้นพบข้อความรู้และขั้นตอนการเรียนรู้ด้วยตนเอง
3.การเรียนรู้แบบแก้ปัญหา
·  การศึกษาแบบค้นคว้า
·  การวิเคราะห์ สังเคราะห์
·  ประเมินค่าข้อมูล
·  การลงข้อสรุป
·  การแก้ปัญหา
    ศึกษาแก้ปัญหาอย่างเป็น
กระบวนการและฝึกทักษะการเรียนรู้ที่สำคัญด้วยตนเอง
4.การเรียนรู้แบบสร้างแผนผัง
·  การคิด
·  การจัดระบบความคิด
    จัดระบบความคิดของตนให้ชัดเจนเห็นความสัมพันธ์
5.การตั้งคำถาม

·  กระบวนการคิด
·  การตีความ
·  การไตร่ตรอง
·  การถ่ายทอดความคิดความเข้าใจ
    เรียนรู้จากการคิดเพื่อสร้างข้อคำถามและคำตอบด้วยตนเอง
6.การศึกษาเป็นรายบุคคล

·  การศึกษาค้นข้อความรู้
·  การนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
·  ความรับผิดชอบ
·  การตอบคำถาม
    เรียนรู้อย่างอิสระด้วยตนเอง
7.การจัดการเรียนการสอนที่ใช้เทคโนโลยี

·  การแก้ปัญหา
·  การนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
·  การเรียนรู้ที่ต้องการผลการเรียนทันที
·  การเรียนรู้ตามลำดับขั้นตอน
·  บทเรียนสำเร็จรูป
·  คอมพิวเตอร์ช่วยสอน
·  e-learning
    เรียนรู้ด้วยตนเองตามระดับความรู้ความสามารถของตนมีการแก้ไขฝึกซ้ำเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจและความเชี่ยวชาญ
8.อภิปรายกลุ่มใหญ่
·  การแสดงความคิดเห็น
·  การวิเคราะห์
·  การตีความ
·  การสื่อความหมาย
·  ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
·  การสรุปความ
    มีอิสระในการแสดงความคิดเห็นมีบทบาทมีส่วนร่วม ในการสร้างข้อความรู้
9.อภิปรายกลุ่มย่อย
·  กระบวนการการกลุ่ม
·  การวางแผน
·  กาแก้ปัญหา
·  การตัดสินใจ
·  ความคิดระดับสูง
·  ความคิดสร้างสรรค์
·  การแก้ไขข้อขัดแย้ง
·  การสื่อสาร
·  การประเมินผลงาน
·  การสร้างบรรยากาศการเรียนรู้
    รับผิดชอบต่อบทบาทหน้าที่ของตนในฐานะผู้นำกลุ่มหรือสมาชิกกลุ่มทั้งในบทบาทการทำงานและบทบาทเกี่ยวกับการรวมกลุ่ม ในการสร้างข้อคามรู้สึกหรือผลงานกลุ่ม
9.1 เทคนิคคู่คิด

·  การค้นคว้าหาคำตอบ
·  การแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
รับผิดชอบการร่วมกับเพื่อน
9.2 เทคนิคการระดมพลังสมอง

·  การมีส่วนร่วม
·  การแสดงความคิดเห็น
·  ความคิดสร้างสรรค์
·  การแก้ปัญหา
    แสดงความคิดเห็นอย่างหลากหลายในเวลาอันรวดเร็ว
9.3 เทคนิค buzzing

·  การค้นคว้าหาคำตอบด้วยเวลาจำกัด
แสดงความคิดเห็นเพื่อหาข้อสรุปในเวลาอันจำกัด
9.4 การอภิปรายแบบกลุ่มต่างๆ

·  การสื่อสาร
·  การแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
·  การสรุปข้อความ
    รับฟังขอมูลความคิดเห็นเพื่อหาข้อสรุปในเวลาอันจำกัด
9.5 กลุ่มติว

·  การฝึกซ้ำ
·  การสื่อสาร
    ทบทวนจากกลุ่มหรือเรียนเพิ่มเติม
10.การฝึกปฏิบัติการ

·  การค้นคว้าหาความรู้
·  การรวบรวมข้อมูล
·  การแก้ปัญหา
    ศึกษาค้นคว้าข้อความรู้ในลักษณะกลุ่มปฏิบัติการ
11.เกม

·  การคิดวิเคราะห์
·  การตัดสินใจ
·  การแก้ปัญหา
    ได้เล่นเกมด้วยตนเองภายใต้กฎหรือกติกาที่กำหนดได้คิดวิเคราะห์พฤติกรรมและเกิดความสนุกสนานในการเรียน
12.กรณีศึกษา
·  การค้นคว้าหาความรู้
·  การอภิปราย
·  การวิเคราะห์
·  การแก้ปัญหา
    ได้ฝึกการคิดวิเคราะห์อภิปรายเพื่อสร้างความเข้าใจเลือกแนวทางแก้ปัญหา
13.สถานการณ์จำลอง
·  การแสดงความคิดเห็น
·  ความรู้สึก
·  การวิเคราะห์
   ได้ทดลองแสดงพฤติกรมต่างๆในสถานการณ์ที่จำลองใกล้เคียงสถานการณ์จริง
14.ละคร

·  ความรับผิดชอบในบทบาท
·  การทำงานร่วมกัน
·  การวิเคราะห์
ได้ทดลองแสดงบทบาทตามกำหนดเกิดประสบการณ์เข้าใจความรู้สึกเหตุผลและพฤติกรรมผู้อื่น
15.บทบาทสมมุติ

·  มนุษย์สัมพันธ์
·  การแก้ปัญหา
·  การวิเคราะห์
    ได้ลองสวมบทบาทต่างๆและศึกษาวิเคราะห์ความรู้สึกและพฤติกรรมตน
16.การเรียนแบบร่วมมือ
ประกอบด้วยเทคนิค
JIGSAW, JIGSAW II, TGT STAD, LT, NHT, Co-op Co-op

·  กระบวนการกลุ่ม
·  การสื่อสาร
·  ความรับผิดชอบร่มกัน
·  ทักษะทางสังคม
    ได้เรียนรู้บทบาทสมาชิกกลุ่มมีบทบาทหน้าที่ รู้จักการไว้วางใจให้เกียรติและรับฟังความคิดเห็นของเพื่อนสมาชิกกลุ่ม
17.การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม

·  การนำเสนอความคิดเห็นประสบการณ์
·  การสื่อสารและปฏิสัมพันธ์
·  กระบวนการกลุ่ม
    มีส่วนร่วมในการอภิปรายแสดงความคิดเห็นหรือปฏิบัติจนได้ข้อสรุป
18.การเรียนการสอนแบบบูรณาการ
แบบ Shoreline Method

·  การค้นคว้าหาความรู้
·  การสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง
·  ทักษะทางสังคม
    มีส่วนร่วมในการเรียนทั้งด้านร่างกาย จิตใจและการคิดดำเนินการเรียนด้วยตนเองทั้งในห้องเรียนและสถานการณ์จริง

อ้างอิง
พิจิตรา ธงพานิช. วิชาการออกแบบและการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน. พิมพ์ครั้งที่ 3 นครปฐม : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์, 2560.

บทความที่ได้รับความนิยม