วันจันทร์ที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2561

สมรรถภาพของผู้ออกแบบการเรียนการสอน

สมรรถภาพของผู้ออกแบบการเรียนการสอน
การออกแบบการเรียนการสอนเป็นกระบวนการทางเชาว์ปัญญา ที่ต้องการทักษะความคิด ในระดับสูง (Nelson, Macliaro and Sherman, 1998 : 29-35) ในการปฏิบัติกิจกรรมนี้จําเป็นต้อง เกี่ยวข้องกับทักษะ และความถนัดตลอดจนการฝึกอบรมและการศึกษา วอลลิงตัน (Wallington, 1981 : 28-33) ได้ให้รายการทักษะที่จําเป็นในการปฏิบัติการออกแบบการเรียนการสอน ซึ่งเป็นทักษะ ระหว่างบุคคล ทักษะในการสื่อสาร ทักษะในการแก้ปัญหา และทักษะในการสกัดและดูดซึม สารสนเทศ และทําให้สิ่งเหล่านั้นอยู่ในกรอบของความมีเหตุมีผล การประยุกต์หลักการทาง พฤติกรรมศาสตร์ และการค้นหาสารสนเทศที่เกี่ยวข้องอย่างเป็นระบบในระบบ ในการพัฒนา สมรรถภาพของการออกแบบการเรียนการสอน ผู้พัฒนาพยายามที่จะปรับปรุงความถนัดพื้นฐานใน สาขาของตน เช่น การเขียนและการเรียบเรื่องทักษะต่างๆ จากการทํางานอย่างต่อเนื่องในสาขาที่คนมี สมรรถภาพทางวิชาชีพนั้น

อ้างอิง
พิจิตรา ธงพานิช. วิชาการออกแบบและการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน. พิมพ์ครั้งที่ 3 นครปฐม : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์, 2560.

งานและผลิตผลของการออกแบบการเรียนการสอน

งานและผลิตผลของการออกแบบการเรียนการสอน
      งานของผู้ปฏิบัติการออกแบบการเรียนการสอนอาจจะหลากหลายในความต้องการด้านความรู้ความชำนาญ ผลผลิตที่ได้และสถานการณ์ของงาน ผู้ปฏิบัติการออกแบบการเรียนการสอนอาจจะวิเคราะห์ภาระงานภายใต้การนิเทศของผู้จัดการโครงการในองค์กรที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยและการพัฒนา ผู้จัดการโครงการอาจจะนำทีมซึ่งพัฒนาการประชุมเชิงปฏิบัติการสามวันสำหรับการอุตสาหกรรม (three-day workshop) การออกแบบไม่จำเป็นต้องเป็นทีมเสมอไปในองค์กรเล็กๆ อาจจะใช้ผู้ออกแบบเพียงคนเดียว ในการทำภาระการออกแบบการเรียนการสอน

1. งานออกแบบ
พิสัยของงาน (job) เป็นไปตามสถานการณ์ และระดับที่แตกต่างกันของผู้ชํานาญการ บางครั้งผู้ออกแบบการเรียนการสอนทําหน้าที่เหมือนเป็นผู้ชํานาญการในขั้นตอนหนึ่งของ กระบวนการ ในบางงานเรียกผู้ออกแบบว่าเป็นผู้ปฏิบัติที่มีสมรรถภาพในการดําเนินโครงการตั้งแต่ เริ่มต้นจนสิ้นสุด พิสัยของงานไม่เพียงแค่เกี่ยวข้องกับหน้าที่ที่มีความเฉพาะเจาะจงเป็นพิเศษแต่บาง งานต้องการระดับความแตกต่างของผู้ชํานาญการ (expertise)
โดยปกติงานในโรงเรียนรวมถึงหน้าที่ในการออกแบบการเรียนการสอน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่ง ของตําแหน่งอื่นๆ เช่น ผู้นิเทศหลักสูตร (curriculum supervisor) ผู้ชํานาญการด้านสื่อ (media Specialist) นักเทคโนโลยีการเรียนการสอน (instructional technologist) เมื่อเปรียบเทียบกับ สถานการณ์อื่นๆ แล้ว ผลกระทบที่เกิดจากการออกแบบการเรียนการสอนอยู่ในระดับต่ำ
เหตุผลบางประการที่การออกแบบการเรียนการสอนให้ผลกระทบในระดับต่ำ คือ ครูยึดติด กับธรรมชาติดั้งเดิมของโรงเรียน ติดแน่นอยู่กับตารางกําหนดงานประจําวัน การพิจารณาให้ทุนกับ โรงเรียนมีน้อย การที่จะทําให้การออกแบบการเรียนการสอนมีความโดดเด่นขึ้นในสถานการณ์ภายใน โรงเรียนต้องมีการเปลี่ยนแปลงสามประการ คือ 1.ลดจํานวนเวลาที่ใช้โดยครูและนักเรียนในชั้นเรียน แบบดั้งเดิม (traditional classers) 2. ส่งเสริมการเรียนการสอนรายบุคคลในหลักสูตรให้มากขึ้น และ 3. ใช้ระบบการสอนที่สิ้นเปลืองงบประมาณน้อย (low cost) (Sees, and Glasgow, 1990 : 14)
2.ผลิตผลของการออกแบบ
ไม่ว่าจะเป็นงานที่ตั้งสมมติฐานไว้ หรืองานในหน้าที่เกี่ยวข้องกับความหลากหลาย ของผลิตผลก็ตาม จะมีขอบเขตที่แตกต่างและซับซ้อน งานการออกแบบการเรียนการสอนก็เช่นกัน ขอบเขตรวมถึงความแตกต่างของขนาดและเนื้อหาความซับซ้อนรวมถึงความแตกต่างของหลักสูตร หรือสื่อ ในระดับที่เล็กที่สุดของขอบเขต คือ แผนการสอน (lesson plans) และหน่วยหรือชุดโมดุล (modules) ระดับต่อไปรวมถึงรายวิชา (courses) และหน่วย (unit) รายวิชาหลักสูตรและสิ่งแวดล้อม เป็นตัวอย่างของผลิตผลที่มีขอบเขตกว้างใหญ่ ระดับสูงสุดของระดับความซับซ้อน คือ สื่อการเรียนรู้
ซึ่งมีปฏิกิริยาสัมพันธ์ซึ่งกันและกันโดยอาศัยสื่อทางโทรคมนาคม และคอมพิวเตอร์เข้าช่วย ระดับ ต่ําสุดของความซับซ้อน คือ กระดาษและดินสอน และสําหรับโสดทัศนวัสดุ เป็นระดับกลางของความซับซ้อน (Seels, and Glasgow, 1990 : 14)

อ้างอิง
พิจิตรา ธงพานิช. วิชาการออกแบบและการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน. พิมพ์ครั้งที่ 3 นครปฐม : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์, 2560.

บทบาทของผู้ออกแบบการเรียนการสอน

บทบาทของผู้ออกแบบการเรียนการสอน
        บทบาทของผู้ออกแบบการเรียนการสอน (designer's role) สามารถเปลี่ยนแปลงได้ขึ้นอยู่กับสิ่งที่นำเสนอว่าต้องอาศัยเทคนิค หรือไม่ต้องอาศัยเทคนิค และขึ้นอยู่กับส่วนประกอบของทีมการออกแบบ เนื้อหาที่ต้องใช้เทคนิคสูง ผู้ออกแบบจำเป็นต้องให้คำแนะนำในการออกแบบกับผู้ชำนาญการด้านเนื้อหา (content expert) ถ้าเนื้อหานั้นไม่ต้องใช้เทคนิคที่สูงมากนักจนเกินไปผู้ออกแบบก็สามารถจัดทำได้อย่างอิสระมากขึ้นด้วยความช่วยเหลือของผู้ชำนาญการด้านเนื้อหาผู้ออกแบบสามารถที่จะทำงานเป็นผู้ให้คำปรึกษาจากภายนอก และรับผิดชอบภาพระงานทั้งหมดเหมือนกับเป็นคนในสำนักงาน (in-house employers) ซึ่งได้รับความช่วยเหลือจากผู้ชำนาญการด้านเนื้อหา บทบาทของผู้ออกแบบสามารถมีได้หลากหลาย ขึ้นอยู่กับความสำพันธ์ที่มีต่อผู้ชำนาญการด้านเนื้อหาวิชา ดังตัวอย่างทั้งสาม (Seels and Glassgow, 1990 : 7-9)
  1. ผู้ชำนาญการด้านเนื้อหาและมีสมรรถภาพในการออกแบบการเรียนการสอนและเทคโนโลยี และเป็นผู้ที่รู้บทบาทของการออกแบบด้วยไม่จำเป็นต้องอาศัยความช่วยเหลือด้านความรู้ความชำนาญทางเนื้อหาวิชา
  2. ผู้ออกแบบการเรียนการการสอน ที่ได้รับการร้องขอให้ทำงานในด้านเนื้อหาที่อาจจะมีความคุ้นเคย แต่ผู้ออกแบบยังคงรู้สึกมีความจำเป็นที่จะทำงานกับผู้ชำนาญการด้านเนื้อหา
  3. ผู้ออกแบบอาจจะได้รับการร้องขอให้พัฒนาหรือวิจัยในด้านเนื้อหาที่ไม่มีความคุ้นเคย ดังนั้นจึงจำเป็นต้องเลือกและทำงานกับผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหาจำนวนมาก
อ้างอิง
พิจิตรา ธงพานิช. วิชาการออกแบบและการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน. พิมพ์ครั้งที่ 3 นครปฐม : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์, 2560.

แบบจำลองการออกแบบการเรียนการสอนโดยทั่วไป



แบบจำลองการออกแบบการเรียนการสอนโดยทั่วไป

        ออกแบบการเรียนการสอนนำความรู้จากสาขาวิชามาประยุกต์เข้าด้วยกันเป็นขั้นตอนกระบวนการเชิงระบบเพื่อนพัฒนาการเรียนการสอน โดยพื้นฐานแล้ววิธีการเชิงระบบกำหนดให้ต้องระบุว่า จะเรียนอะไร วางแผนการสอนว่าจะยอมให้การเรียนรู้อะไรเกิดขึ้น วัดผลการเรียนรู้เพื่อตัดสินว่า การเรียนรู้นั้นบรรลุตามจุดประสงค์หรือไม่และกลั่นกรองตัวสอดแทรก (intervention) จนกระทั่งบรรลุจุดประสงค์ จากลักษณะนี้เองจึงทำให้เกิดแบบจำลองการออกแบบการเรียนการสอนทั่วไป (generic Instruction Design model : ID model) ขึ้น (Gibbons 1981 : 5, Hannum and hassan, 1989)
        แบบจำลองการออกแบบการเรียนการสอนทั่วไป มีความง่ายในการใช้มากแต่ต้องใช้ด้วยความประณีต และปรับปรุงอยู่เสมอ อย่างไรก็ตามแบบจำลองการออกแบบการเรียนการสอนโดยทั่วไปได้จัดเตรียมการแนะนำขั้นตอนในกระบวนการของการออกแบบไว้อย่างดี แบบจำลองลักษณะนี้มีความหมายว่าการออกแบบการเรียนการสอนเป็นกระบวนการเชิงระบบที่ประกอบด้วยขั้นตอนทั่วไปเหล่านี้คือ
         1. การวิเคราะห์ (analysis) ซึ่งเป็นกระบวนการของการระบุว่าอะไรคือสิ่งที่ต้องเรียน
         2. การออกแบบ (design) ซึ่งเป็นกระบวนการของการระบุว่าเรียนอย่างไร
         3. การพัฒนา (development) เป็นกระบวนการของการจัดการและผลิตวัสดุอุปกรณ์
         4. การนำไปใช้ (implementation) เป็นกระบวนการของการกำหนดโครงการในบริบทของโลกแห่งความจริง
         5. การประเมินผล (evaluation) เป็นกระบวนการของการตัดสินตกลงใจต่อความเพียงพอของการเรียนการสอน

อ้างอิง

พิจิตรา ธงพานิช. วิชาการออกแบบและการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน. พิมพ์ครั้งที่ 3 นครปฐม : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์, 2560.

ประโยชน์ของการออกแบบการเรียนการสอน

ประโยชน์ของการออกแบบการเรียนการสอน
        การลงทุนที่ประสบผลสำเร็จ หมายถึงการที่ผู้เกี่ยวข้องทุกคนได้ประโยชน์หากเปรียบเทียบกับการทำงานทางธุรกิจแล้ว ประโยชน์ย่อมหมายถึงกำไร เจ้าของกิจการได้กำไร ลูกค้าพอใจในราคา คุณภาพ และบริการ คนงานและลูกจ้างได้รับค่าจ้างแรงงานที่เหมาะสม และมีความรู้สึกที่ดีต่อบริษัท ในทำนองเดียวกัน นักศึกษาที่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอนย่อมได้ประโยชน์จากการเรียนการสอนไม่มากก็น้อย ดังที่ ไชยยศ เรืองสุวรรณ ได้กล่าวว่า
                1.ผู้บริหารหรือผู้จัดการโปรแกรมการศึกษาและการเรียนการสอนย่อมต้องการความมั่นใจในประสิทธิภาพ และประสิทธิภาพของการเรียนโดยใช้งบประมาณประหยัดที่สุด
                2. นักออกแบบการสอน ย่อมต้องการความมั่นใจว่า โปรแกรมที่ออกแบบไว้เป็นโปรแกรมที่น่าพอใจ ซึ่งบ่งชี้ที่สำคัญในความพอใจก็คือผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ในเวลาที่เหมาะสม
                3. ครูผู้สอนย่อมต้องการที่จะเห็นผู้เรียนได้รับความรู้ ความสามารถอื่นๆ ที่จำเป็น รวมทั้ง ต้องการมีวามสัมพันธ์ที่ดีกับผู้เรียน
                4.ผู้เรียนต้องการความสำเร็จในการเรียน ได้รับประสบการณ์การเรียนด้วยความสนุกสนานและพอใจ (ไชยยศ, 2533 : 14)
        ออร์แลนสกี และสตริง (Oransky and Stering, 1981) ได้สรุปผลการวิจัยการสอนรายวิชาเทคนิคต่าง ๆ ด้านการทหารที่มีการออกแบบระบบการเรียนการสอนเป็นอย่างดีว่าสามารถลดเวลาการเรียนการสอนรายวิชาเหล่านั้นลงได้จาก 25.30 สัปดาห์ เหลือเพียง 9.6 สัปดาห์ อย่างไรก็ตามรายวิชาดังกล่าวที่เป็นรายงานผลการวิจัยนั้น เป็นรายวิชาด้านการทหาร ยังไม่มีรายงานผลการวิจัยรายวิชาอื่น (ในต่างประเทศ) ที่พัฒนาขึ้นมาโดยกระบวนการออกแบบการเรียนการสอนแล้วกดเวลาการสอนได้ สำหรับประเทศไทยอาจกล่าวได้ว่า ระบบการสอนของโครงการส่งเสริม สมรรถภาพการสอน (Reduce Instructional Time : RIT) นั้นเป็นการออกแบบและพัฒนาการเรียนการสอนที่ผลการวิจัยระบุว่าสามารถลดเวลาการสอนของครู เเละเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนรู้ได้เป็นอย่างดี (ไชยยศ, 2533 : 14)

อ้างอิง
พิจิตรา ธงพานิช. วิชาการออกแบบและการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน. พิมพ์ครั้งที่ 3 นครปฐม : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์, 2560.

นิยามการออกแบบการเรียนการสอน

นิยามการออกแบบการเรียนการสอน
       ริตา ริชชีย์ (Rita Richy, 1986 : 9) ได้นิยามการออกแบบการเรียนการสอนว่าหมายถึงวิทยาศาสตร์การสร้างสรรค์รายละเอียดที่ชี้เฉพาะเพื่อการพัฒนาการประเมินผลและการบำรุงรักษาสถานการณ์ หรือเงื่นไขที่อำนวยความสะดวกให้กับการเรียนรู้ในหน่วยของเนื้อหาวิชา (Unit of subject matter) ทั้งหน่วยใหญ่และหน่วยย่อย การนิยามของริชชีย์เป็นการให้ความกระจ่างกับความสัมพันธ์ของนักวิจัยซึ่งไม่ได้เกี่ยวข้องกับการออกแบบการเรียนการสอน แต่เป็นผู้ให้ความช่วยเหลือบนพื้นฐานของความรู้ 
        ในขณะที่ไชยยศ เรืองสุวรรณ (ไชยยศ, 2553 : 12) ยังได้เสนอกรอบแนวคิดของกระบวนการออกแบบการเรียนการสอนด้วยว่า มีองค์ประกอบบสี่ประการคือ ผู้เรียน จุดหมาย วิธีสอน และการประเมินผล โดยตั้งคำถามที่ใกล้เคียงกับคำถามของไทเลอร์ (Tyler, 1974 : 1) คือ
                    1.จะออกแบบและพัฒนาโปรแกรมนี้ไว้เพื่อใครเป็นการพิจารณาคุณลักษณะผู้เรียนหรือผู้เข้ารับการฝึกอบรม
                    2.ต้องการให้ผู้เรียน หรือผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้เรียนรู้อะไร หรือมีความสามารถที่จะทำอะไรได้บ้าง เป็นการกำหนดจุดหมายของการเรียน
                    3.ผู้เรียนจะเรียนรู้เนื้อหาวิชาหรือทักษะต่างๆได้ดีที่สุดอย่างไร เป็นการกำหนดวิธีการสอนและกิจกรรมของการเรียนการสอน 
                    4.จะได้รู้อย่างไรว่า ผู้เรียนประสบผลสำเร็จในการเรียนรู้ เป็นการกำหนดกระบวนการประเมินผล 
        การออกแบบระบบการเรียนการสอน (instructional systems design) เป็นกระบวนการเชิง ระบบของการวางแผนระบบการเรียนการสอนและการพัฒนาการเรียนการสอน (instructional development) เป็นกระบวนการของการนําแผนไปใช้ เมื่อรวมหน้าที่ทั้งสองอย่างเข้าด้วยกัน ก็จะ กลายเป็นองค์ประกอบของเทคโนโลยีการเรียนการสอน (instructional technology) ซึ่งเป็นคําที่กว้าง กว่าระบบการเรียนการสอน และอาจนิยามได้ว่า เป็นการประยุกต์ระบบของทฤษฎีและความรู้ที่ใช้ใน ภาระงานของการออกแบบการเรียนการสอนและการพัฒนาเทคโนโลยีการสอน หมายรวมถึงคําถาม ที่เป็นความรู้ใหม่เกี่ยวกับว่า บุคคลเรียนรู้อย่างไร และจะออกแบบระบบการเรียนการสอน หรือวัสดุ อุปกรณ์อย่างไรจึงจะดีที่สุด
       อาจสรุปได้ดังภาพ
       การออกแบบการเรียนการสอน หมายถึง กระบวนการแก้ปัญหาการเรียนการสอนโดยวิเคราะห์สถานการณ์ หรือเงื่อนไขการเรียนรู้อย่างเป็นระบบ แล้วจึงวางแผนการเรียนการสอนอย่างเป็นระบบ เพื่อให้จัดการการเรียนการสอนบรรลุจุดมุ่งหมาย โดยอาศัยความรู้จากหลายๆทฤษฎี เช่น ทฤษฎีการเรียนรู้ ทฤษฎีการสอน ทฤษฎีการติดต่อสื่อสาร ตลอดจน ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์

อ้างอิง
พิจิตรา ธงพานิช. วิชาการออกแบบและการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน. พิมพ์ครั้งที่ 3 นครปฐม : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์, 2560.

ความต้องการจำเป็นในการออกแบบการเรียนการสอน


ความต้องการจำเป็นในการออกแบบการเรียนการสอน
       คิดและเรย์ กล่าวว่า ความต้องการในการออกแบบการเรียนการสอน คือ ความจำเป็นเร่งด่วนทันทีทันใด โดยยกตัวอย่างว่า นักออกแบบการเรียนการสอนจำนวน 12 คน ที่ทำงานเกี่ยวกับเตาปฏิกรณ์ปรมาณูในท้องถิ่นต้องมีปริญญาทางเทคโนโลยีการเรียนการสอนและต้องรับผิดชอบเพื่อที่จะให้เกิดความแน่ใจในคุณภาพของการเรียนการสอนทุกระดับ (Disk and Cary 1985 : 8)
         การประกาศรับสมัครในตำแหน่งดังกล่าวนี้ ได้จัดทำขึ้นโดยบริษัทคู่สัญญาหลังจากเกิดอุบัติเหตุทางนิวเคลียร์ขึ้นที่เกาะทรีไมล์และเชอร์โนบิล (Three mile and Chermobyl) : ซึ่งแสดงให้เห็นความกดดันเกี่ยวกับคุณภาพการเรียนการสอนที่พบในหลายๆสถานการณ์ วิธีการหนึ่งพิสูจน์ข้อผูกผันที่มีต่อคุณภาพการเรียนการสอนที่พบในหลายๆสถานการณ์ คือ การผ่านการรับรองในเรื่องของการพัฒนา และการเฝ้าระวังติดตามการเรียนการสอน การออกแบบการเรียนการสอนเป็นการแก้ปัญหาคุณภาพ การเรียนการสอนในสถานการณ์ต่างๆที่หลากหลาย
           ในกรณีของเตาปฏิกรณ์ปรมาณู (nuclear power plants) มีความต้องการที่ควบคุมการเรียนการสอนให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ทั้งทางด้านป้องกันและพยายามที่จะป้องกันอุบัติเหตุสถาบันปฏิบัติการพลังงานนิวเคลียร์และการอุตสาหกรรมใน USA ได้ก่อตั้งองค์กรเพื่อจัดทำนโยบายของตนเองโดยมีมาตรฐานคำสั่งสำหรับโปรแกรมการฝึกอบรมมาตรฐานประกอบด้วยการใช้กระบวนการออกแบบการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน สถาบันจะเป็นผู้ประเมินและรับรองการปฏิบัติทางปฏิกรณ์ปรมาณู และรวมถึงองค์ประกอบของการฝึกอบรมในเรื่องดังกล่าวนี้ด้วย (Vandergrift, 1983)
           งานของผู้ออกแบบการเรียนการสอนคือ นำจุดประสงค์และการเรียงลำดับของจุดประสงค์ไปสู่กระบวนการวางแผนการเรียนการสอนเพื่อนที่จะให้เกิดความแน่ใจที่คุณภาพของการเรียนการสอน วิธีการในลักษณะนี้จะแล้วเสร็จได้ด้วยการประยุกต์ใช้กระบวนการเชิงระบบ และการใช้วิจัย และความรู้ทางทฤษฎีจากการออกแบบการเรียนการสอน และจากสาขาวิชาอื่น ๆ


          ดังนั้นอาจสรุปได้ดังภาพ 
       ความต้องการจำเป็นในการออกแบบการเรียนการสอน คือ การแก้ปัญหาคุณภาพการเรียนการสอนในสถานการณ์ที่หลากหลาย เพื่อให้การเรียนการสอนมีคุณภาพด้วยวิธีการเชิงระบบที่ให้ผลอันยิ่งใหญ่ต่อการพัฒนาปัจเจกบุคคล และมนุษย์โดยทั่วไปและตั้งอยู่บนพื้นฐานของความรู้ว่ามนุษย์เรียนรู้ได้อย่างไร

อ้างอิง
พิจิตรา ธงพานิช. วิชาการออกแบบและการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน. พิมพ์ครั้งที่ 3 นครปฐม : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์, 2560.

บทความที่ได้รับความนิยม