วันจันทร์ที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

โมเดล รูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ (งานของกลุ่มตัวเอง)




รูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
เทคนิค/วิธีการสอน
ทักษะ/พฤติกรรมที่มุ่งเน้น
บทบาทผู้เรียน
1.กระบว­นการสืบค้น
·  การศึกษาค้นคว้า
·  การเรียนรู้กับกระบวนการ
·  การตัดสินใจ
·  ความคิดสร้างสรรค์
    ศึกษาค้นคว้าเพื่อสืบค้นข้อความรู้ด้วยตนเอง
2.การเรียนรู้แบบค้นพบ
·  การสังเกต การสืบค้น
·  การใช้เหตุผล การอ้างอิง
·  การสร้างสมมุติฐาน
    ศึกษาค้นพบข้อความรู้และขั้นตอนการเรียนรู้ด้วยตนเอง
3.การเรียนรู้แบบแก้ปัญหา
·  การศึกษาแบบค้นคว้า
·  การวิเคราะห์ สังเคราะห์
·  ประเมินค่าข้อมูล
·  การลงข้อสรุป
·  การแก้ปัญหา
    ศึกษาแก้ปัญหาอย่างเป็น
กระบวนการและฝึกทักษะการเรียนรู้ที่สำคัญด้วยตนเอง
4.การเรียนรู้แบบสร้างแผนผัง
·  การคิด
·  การจัดระบบความคิด
    จัดระบบความคิดของตนให้ชัดเจนเห็นความสัมพันธ์
5.การตั้งคำถาม

·  กระบวนการคิด
·  การตีความ
·  การไตร่ตรอง
·  การถ่ายทอดความคิดความเข้าใจ
    เรียนรู้จากการคิดเพื่อสร้างข้อคำถามและคำตอบด้วยตนเอง
6.การศึกษาเป็นรายบุคคล

·  การศึกษาค้นข้อความรู้
·  การนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
·  ความรับผิดชอบ
·  การตอบคำถาม
    เรียนรู้อย่างอิสระด้วยตนเอง
7.การจัดการเรียนการสอนที่ใช้เทคโนโลยี

·  การแก้ปัญหา
·  การนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
·  การเรียนรู้ที่ต้องการผลการเรียนทันที
·  การเรียนรู้ตามลำดับขั้นตอน
·  บทเรียนสำเร็จรูป
·  คอมพิวเตอร์ช่วยสอน
·  e-learning
    เรียนรู้ด้วยตนเองตามระดับความรู้ความสามารถของตนมีการแก้ไขฝึกซ้ำเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจและความเชี่ยวชาญ
8.อภิปรายกลุ่มใหญ่
·  การแสดงความคิดเห็น
·  การวิเคราะห์
·  การตีความ
·  การสื่อความหมาย
·  ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
·  การสรุปความ
    มีอิสระในการแสดงความคิดเห็นมีบทบาทมีส่วนร่วม ในการสร้างข้อความรู้
9.อภิปรายกลุ่มย่อย
·  กระบวนการการกลุ่ม
·  การวางแผน
·  กาแก้ปัญหา
·  การตัดสินใจ
·  ความคิดระดับสูง
·  ความคิดสร้างสรรค์
·  การแก้ไขข้อขัดแย้ง
·  การสื่อสาร
·  การประเมินผลงาน
·  การสร้างบรรยากาศการเรียนรู้
    รับผิดชอบต่อบทบาทหน้าที่ของตนในฐานะผู้นำกลุ่มหรือสมาชิกกลุ่มทั้งในบทบาทการทำงานและบทบาทเกี่ยวกับการรวมกลุ่ม ในการสร้างข้อคามรู้สึกหรือผลงานกลุ่ม
9.1 เทคนิคคู่คิด

·  การค้นคว้าหาคำตอบ
·  การแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
รับผิดชอบการร่วมกับเพื่อน
9.2 เทคนิคการระดมพลังสมอง

·  การมีส่วนร่วม
·  การแสดงความคิดเห็น
·  ความคิดสร้างสรรค์
·  การแก้ปัญหา
    แสดงความคิดเห็นอย่างหลากหลายในเวลาอันรวดเร็ว
9.3 เทคนิค buzzing

·  การค้นคว้าหาคำตอบด้วยเวลาจำกัด
แสดงความคิดเห็นเพื่อหาข้อสรุปในเวลาอันจำกัด
9.4 การอภิปรายแบบกลุ่มต่างๆ

·  การสื่อสาร
·  การแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
·  การสรุปข้อความ
    รับฟังขอมูลความคิดเห็นเพื่อหาข้อสรุปในเวลาอันจำกัด
9.5 กลุ่มติว

·  การฝึกซ้ำ
·  การสื่อสาร
    ทบทวนจากกลุ่มหรือเรียนเพิ่มเติม
10.การฝึกปฏิบัติการ

·  การค้นคว้าหาความรู้
·  การรวบรวมข้อมูล
·  การแก้ปัญหา
    ศึกษาค้นคว้าข้อความรู้ในลักษณะกลุ่มปฏิบัติการ
11.เกม

·  การคิดวิเคราะห์
·  การตัดสินใจ
·  การแก้ปัญหา
    ได้เล่นเกมด้วยตนเองภายใต้กฎหรือกติกาที่กำหนดได้คิดวิเคราะห์พฤติกรรมและเกิดความสนุกสนานในการเรียน
12.กรณีศึกษา
·  การค้นคว้าหาความรู้
·  การอภิปราย
·  การวิเคราะห์
·  การแก้ปัญหา
    ได้ฝึกการคิดวิเคราะห์อภิปรายเพื่อสร้างความเข้าใจเลือกแนวทางแก้ปัญหา
13.สถานการณ์จำลอง
·  การแสดงความคิดเห็น
·  ความรู้สึก
·  การวิเคราะห์
   ได้ทดลองแสดงพฤติกรมต่างๆในสถานการณ์ที่จำลองใกล้เคียงสถานการณ์จริง
14.ละคร

·  ความรับผิดชอบในบทบาท
·  การทำงานร่วมกัน
·  การวิเคราะห์
ได้ทดลองแสดงบทบาทตามกำหนดเกิดประสบการณ์เข้าใจความรู้สึกเหตุผลและพฤติกรรมผู้อื่น
15.บทบาทสมมุติ

·  มนุษย์สัมพันธ์
·  การแก้ปัญหา
·  การวิเคราะห์
    ได้ลองสวมบทบาทต่างๆและศึกษาวิเคราะห์ความรู้สึกและพฤติกรรมตน
16.การเรียนแบบร่วมมือ
ประกอบด้วยเทคนิค
JIGSAW, JIGSAW II, TGT STAD, LT, NHT, Co-op Co-op

·  กระบวนการกลุ่ม
·  การสื่อสาร
·  ความรับผิดชอบร่มกัน
·  ทักษะทางสังคม
    ได้เรียนรู้บทบาทสมาชิกกลุ่มมีบทบาทหน้าที่ รู้จักการไว้วางใจให้เกียรติและรับฟังความคิดเห็นของเพื่อนสมาชิกกลุ่ม
17.การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม

·  การนำเสนอความคิดเห็นประสบการณ์
·  การสื่อสารและปฏิสัมพันธ์
·  กระบวนการกลุ่ม
    มีส่วนร่วมในการอภิปรายแสดงความคิดเห็นหรือปฏิบัติจนได้ข้อสรุป
18.การเรียนการสอนแบบบูรณาการ
แบบ Shoreline Method

·  การค้นคว้าหาความรู้
·  การสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง
·  ทักษะทางสังคม
    มีส่วนร่วมในการเรียนทั้งด้านร่างกาย จิตใจและการคิดดำเนินการเรียนด้วยตนเองทั้งในห้องเรียนและสถานการณ์จริง

อ้างอิง
พิจิตรา ธงพานิช. วิชาการออกแบบและการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน. นครปฐม : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร.

กระบวนการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

กระบวนการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

        การจัดการศึกษาที่ยึดหลักว่า ให้ผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ และถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด โดยกระบวนการจัดการศึกษาจะต้องส่งเสริม ให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ

หลักการเรียนรู้เพื่อการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
ส่งเสริมให้ผู้เรียน
        1. สร้างความรู้ด้วยตนเอง (construction) ด้วยการใช้กระบวนการเรียนรู้ (learning process)
        2. มีส่วนร่วม (participation) อย่างตื่นตัว (active)
        3. มีปฏิสัมพันธ์ (interaction) และร่วมมือ ร่วมใจ (co-operation) ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (share and learning)
        4. ทำกิจกรรมเพื่อพัฒนาทั้งสมองซีกซ้ายและขวา หรือพัฒนาพหุปัญญา (multiple intelligences)
        5. นำความรู้ไปใช้ และประยุกต์ใช้ (application)

แผนภาพปัญหาทั้ง 8 ด้าน ตามทฤษฎีพหุปัญญาของการ์ดเนอร์ (Spencer,1998)


การเปลี่ยนผ่านสังคมไทยเข้าสู่ยุคสังคม/เศรษฐกิจฐานความรู้

แผนภาพ การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง



เทคนิคการสอนปริศนา ที่ใช้ในวันนี้?

  • เป็นกิจกรรมที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ในด้าน Active Learning
  • Construct ได้ค้นพบและสร้างความรู้ใหม่ด้วยตนเองจากการศึกษาเป็นกลุ่ม
  • ด้าน Thinking ส่งเสริมกระบวนการคิด การคิดวิเคราะห์ และการสังเคราะห์ เป็นแผนผังความคิดได้
  • ด้าน Happiness เป็นกิจกรรมที่ผู้เรียนได้เรียนอย่างมีความสุข มีปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
  • ด้าน Participation เป็นกิจกรรมที่ผู้เรียนวางแผนกำหนดงาน มีเป้าหมายร่วมกัน มีโอกาสเลือกทำงานตรงกับความสนใจของตนเอง
  • ด้าน Individualization เป็นกิจกรรมที่ผู้สอนและผู้เรียน ยอมรับในความคิดเห็น ความสามารถและความแตกต่างระหว่างบุคคล
  • ด้าน Good Habit เป็นกิจกรรมที่ผู้เรียนฝึกความรับผิดชอบ ความมีระเบียบวินัย ความมีน้ำใจ

วิธีสอนในวันนี้
รูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือ (Cooperative Learning)
        การเรียนรู้แบบร่วมมือ เป็นรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่ให้นักศึกษาได้เรียนรู้ร่วมกันเป็นกลุ่ม แต่ละกลุ่มประกอบด้วยสมาชิกที่มีความรู้ความสามารถแตกต่างกัน แต่ละคนมีส่วนร่วมอย่างแท้จริงในการเรียนรู้ และในความสำเร็จของกลุ่ม
       โดยที่ในกลุ่มจะมีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น แบ่งปันทรัพยากร ให้กำลังใจแก่กันและกัน คนเก่งจะช่วยเหลือคนที่อ่อนกว่า สมาชิกในกลุ่มไม่เพียงแต่รับผิดชอบต่อผลการเรียนของตนเองเท่านั้น แต่จะต้องร่วมรับผิดชอบต่อการเรียนรู้ของเพื่อนสมาชิกทุกคนในกลุ่ม ความสำเร็จของบุคคล คือ ความสำเร็จของกลุ่ม
เทคนิคผึ้งแตกรังเป็นเทคนิคการสอนในรูปแบบการจัดกิจกรรมโดยยึดผู้เรียนเป็นสําคัญ ซึ่ง กอบวิทย์ พิริยาวัฒน์ (http://www slideshare.netteacherkobwit) ได้กําหนดขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ไว้ ดังนี้
1) ครูเลือกเนื้อหา หน่วยการเรียนรู้และจัดแบ่งเนื้อหาเป็นหน่วยย่อยๆ
2) ครูจัดศูนย์การเรียนรู้ เอาไว้ที่ต่างๆ
3) แบ่งนักเรียนออกเป็นกลุ่ม โดยให้คละเด็กเก่ง ปานกลาง อ่อน
4) แต่ละกลุ่มวางแผน มอบหมายงานให้เพื่อสมาชิกรับผิดชอบในการศึกษาความรู้จากศูนย์การเรียนต่างๆ
5) ตัวแทนกลุ่มไป ศึกษาความรู้จากฐานการเรียนรู้ที่ได้รับมอบหมาย
6) ตัวแทนกลุ่มที่ไปศึกษาความรู้จากฐานการเรียนรู้ ต่างๆ ร่วมกันจัดทําแผนผังความคิดเพื่อสรุปสาระสําคัญ
7) ตัวแทนกลุ่มกลับไปสู่กลุ่มเดิม และนําเอา แผนผังความคิด สรุปสาระสําคัญมาอธิบายให้เพื่อนในกลุ่มฟัง
8) ให้แต่ละกลุ่มตั้งคําถามเกี่ยวกับ สาระสําคัญความรู้จากฐานต่างๆ
9) กลุ่มนําคําถามเหล่านี้ซักถามเพื่อสมาชิกในกลุ่มเพื่อทบทวน ความรู้ความเข้าใจ
10) กลุ่มนําคําถามเหล่านี้ไปให้กลุ่มอื่นหาคําตอบและเฉลย

กิจกรรมการเรียนการสอนในวันนี้ : กิจกรรมในชั้นเรียน
1. อาจารย์เลือกเนื้อหาในบทที่ 2 วิธีการสอนและเทคนิคการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ และจัดแบ่งเนื้อหาเป็นหน่วยย่อย ๆ จำนวน 7 หน่วย ประกอบด้วย
1.1 หน่วยที่ 1 วิธีการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ (หน้า 31-35)
1.2 หน่วยที่ 2 รูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ (หน้า 36-39)
1.3 หน่วยที่ 3 เทคนิควิธีสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญเพื่อนำไปสู่การจัดการเรียนการสอน (หน้า 40-49)
1.4 หน่วยที่ 4 เทคนิคการใช้ผังกราฟิก (หน้า 50-58)
1.5 หน่วยที่ 5 การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ (หน้า 58-66)
1.6 หน่วยที่ 6 เทคนิคการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ (หน้า 66-74)
1.7 หน่วยที่ 7 การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ (หน้า 74-85)
2. อาจารย์จัดศูนย์การเรียนรู้เอาไว้ที่ต่าง ๆ 
3. แบ่งนักศึกษาออกเป็นกลุ่ม ๆ ละ 7-9 คน 
4. แต่ละกลุ่มวางแผนมอบหมายให้เพื่อนสมาชิกรับผิดชอบในการศึกษาความรู้จากศูนย์การเรียนต่าง ๆ 
5. ตัวแทนกลุ่มไปศึกษาความรู้จากฐานการเรียนรู้ที่ได้รับมอบหมาย 
6. ตัวแทนกลุ่มที่ไปศึกษาความรู้จากศูนย์การเรียนต่าง ๆ ร่วมกันจัดทำแผนผังความคิดเพื่อสรุปสาระสำคัญ (Concept Mapping) 
สมาชิกในศูนย์ กำหนดเวลาในการอ่านและทำความเข้าใจ คนละ 30 นาที
จากนั้น สมาชิกแต่ละคนร่วมอภิปราย และร่วมจัดทำแผนผัง (Concept Mapping) 30 นาที
7. ตัวแทนกลุ่มกลับไปสู่กลุ่มเดิม และนำเอาแผนผังความคิดสรุปสาระสำคัญมาอธิบายให้เพื่อนในกลุ่มฟัง และสมาชิกแต่ละคนจดบันทึก ในบันทึกการเรียนรู้ (กิจกรรมนอกชั้นเรียน : กำหนดเวลา 1.30- 2 ชั่วโมง) 
8. ให้แต่ละกลุ่มตั้งคำถามเกี่ยวกับสาระสำคัญความรู้จากฐานต่าง ๆ กลุ่มละ 20 คำถาม (กิจกรรมนอกชั้นเรียน : กำหนดเวลา 40 นาที) 
9. กลุ่มนำคำถามเหล่านี้ซักถามเพื่อนสมาชิกในกลุ่มเพื่อทบทวนความรู้ความเข้าใจ และให้เก็บความลับไว้เป็นอย่างดี (กิจกรรมนอกชั้นเรียน : กำหนดเวลา 20 นาที) 
10. กลุ่มนำคำถามเหล่านี้ไปให้กลุ่มอื่นหาคำตอบและเฉลย (คาบหน้า) 

กลุ่มใดได้คะแนนสูงสุด เป็นผู้ชนะ (กิจกรรมในชั้นเรียน : 30 นาที)

อ้างอิง

พิจิตรา ธงพานิช. วิชาการออกแบบและการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน. พิมพ์ครั้งที่ 3 นครปฐม : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์, 2560.

บทความที่ได้รับความนิยม