วันจันทร์ที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

หมวดที่ 1 รูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นโดยนักการศึกษาไทย

หมวดที่ 1 รูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นโดยนักการศึกษาไทย

หมวดที่ 1 รูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นโดยนักการศึกษาไทย
        ผู้เขียนจะนำเสนอ 4 รูปแบบดังนี้
        1.1 รูปแบบการเรียนการสอนทักษะกระบวนการเผชิญสถานการณ์พัฒนาโดยสุมน อมรวิวัฒน์
        1.2 รูปแบบการเรียนการสอนโดยสร้างศรัทธาและโยนิโสมนสิการ พัฒนาโดย สุมน อมรวิวัฒน์
        1.3 รูปแบบการเรียนการสอนกระบวนการคิดเป็นเพื่อการดํารงชีวิตในสังคมไทย พัฒนา โดยหน่วยศึกษานิเทศก์ กรมสามัญศึกษา
        1.4 รูปแบบการเรียนการสอนโดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง : โมเดลซิปปา (CIPPA) พัฒนาโดย ทิศนา แขมมณี

1.1 รูปแบบการเรียนการสอนทักษะกระบวนการเผชิญสถานการณ์พัฒนาโดยสุมน อมรวิวัฒน์

        ก. ทฤษฎีหลักการ/แนวคิดของรูปแบบ
                สุมน อมรวิวัฒน์ (2533 : 168 – 170) ได้พัฒนารูปแบบการเรียนการสอนนี้ขึ้นมา จากแนวคิดที่ว่า การศึกษาที่แท้ควรสัมพันธ์สอดคล้องกับการดําเนินชีวิต ซึ่งต้องเผชิญกับการ เปลี่ยนแปลงต่างๆ ซึ่งมีทั้งทุกข์ สุข ความสมหวังและความผิดหวังต่างๆ การศึกษาที่แท้ควรช่วยให้ ผู้เรียนได้เรียนรู้ที่จะเผชิญกับสถานการณ์ต่างๆ เหล่านั้น และสามารถเอาชนะปัญหาเหล่านั้นได้โดย
                1. การเผชิญ ได้แก่การเรียนรู้ที่จะเข้าใจภาวะที่ต้องเผชิญ
                2. การผจญ คือการเรียนรู้วิธีต่อสู้กับปัญหาอย่างถูกต้องตามทํานองคลองธรรมและมีหลักการ
                3. การผสมผสาน ได้แก่การเรียนรู้ที่จะผสมผสานวิธีการต่างๆ เพื่อนําไปใช้แก้ปัญหาได้สําเร็จ
                4. การเผด็จ คือ การลงมือแก้ปัญหาให้หมดไป โดยไม่ก่อใจโดยไม่ก่อให้เกิดปัญหาสืบเนื่องต่อไปอีก
         ข. วัตถุประสงค์ของรูปแบบ
                  รูปแบบนี้มุ่งพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาและทักษะกระบวนการ อาทิ กระบวนคิด ( โยนิโสมนสิการ) กระบวนการเผชิญสถานการณ์ กระบวนกา กระบวนการประเมินค่าและตัดสินใจ กระบวนการสื่อสาร ฯลฯ รวมทั้งพัฒนาคุณธรรม จริยะ การแก้ปัญหาและการดํารงชีวิต
         ค. กระบวนการเรียนการสอนของรูปแบบ
                  กระบวนการดําเนินการมีดังนี้ (สุมน อมรวิวัฒน์, 2533 : 170 - 171 ; 2542 : 55 - 146)
                  1. ขั้นนํา การสร้างศรัทธา
                           1.1 ผู้สอนจัดสิ่งแวดล้อมและบรรยากาศในชั้นเรียนให้เหมาะสมกับเนื้อหา ของบทเรียน และเร้าใจให้ผู้เรียนเห็นความสําคัญของบทเรียน
                           1.2 ผู้สอนสร้างสัมพันธ์ที่ดีกับผู้เรียน และแสดงความรักความเมตตาความ จริงใจต่อผู้เรียน
                  2. ขั้นสอน
                           2.1 ผู้สอนหรือผู้เรียนนําเสนอสถานการณ์ปัญหา หรือกรณีตัวอย่าง มาฝึก ทักษะการคิดและปฏิบัติในกระบวนการเผชิญสถานการณ์
                           2.2 ผู้เรียนฝึกทักษะการแสวงหาและรวบรวมข้อมูล ข้อเท็จจริง ความรู้ และ หลักการต่างๆ โดยฝึกหัดการตรวจสอบข้อมูลข่าวสารกับแหล่งอ้างอิงหลายๆ แหล่ง และตรวจสอบ ลักษณะของข้อมูลข่าวสารว่าเป็นข้อมูลข่าวสารที่ง่ายหรือยาก ธรรมดาหรือซับซ้อน แคบหรือกว้าง คลุมเครือหรือชัดเจน มีความจริงหรือความเท็จมากกว่า มีองค์ประกอบเดียวหรือหลายองค์ประกอบ ระบบหรือยุ่งเหยิงสับสน มีลักษณะเป็นนามธรรมหรือรูปธรรม มีแหล่งอ้างอิงหรือเลื่อนลอย มีเจตนา ดีหรือร้าย และเป็นสิ่งที่ควรรู้หรือไม่รู้
                           2.3 ผู้เรียนฝึกสรุปประเด็นสําคัญ ฝึกการประเมินค่า เพื่อหาแนวทางแกะ ว่าทางใดดีที่สุด โดยใช้วิธีคิดหลายๆ วิธี (โยนิโสมนสิการ) ได้แก่ การคิดสืบสาวเหตุปัจจัย แบบแยกแยะส่วนประกอบ การคิดแบบสามัญลักษณ์ คือคิดแบบแก้ปัญหา คิดแบบอรรถธรรมสัมพันธ์ คือ คิดให้เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างหลักการและความมุ่งหมาย คิดแบบคุณ คิดแบบคุณค่าแท้ - คุณค่าเทียม คิดแบบใช้อุบายปลุกเร้าคุณธรรมและคิดแบบเป็นอยู่ในขณะปัจจุบัน
                           2.4 ผู้เรียนฝึกทักษะการเลือกและตัดสินใจโดยการฝึกการประเมินค่าตามเกณฑ์ที่ถูกต้องดีงาม เหมาะสม ฝึกการวิ ใช้หลักการ ประสบการณ์ และการทํานาย มาใช้ในการเลือกหาทางเลือก
                           2.5 ผู้เรียนลงมือปฏิบัติตามทางเลือกที่ได้ให้ไว้ ผู้สอนให้คําปรึกษาและแนะนำฉันกัลยาณมิตร โดยปฏิบัติให้เหมาะสมกับหลักสัปปุริสธรรม 7
                  3. ขั้นสรุป รูปแบบต่างๆ ที่เหมาะสมกับความสามารถและวัย
                           3.1 ผู้เรียนแสดงออกด้วยวิธีการต่างๆ เช่น การพูด เขียน แสดง หรือกระทําใน 

                           3.2 ผู้เรียนและผู้สอนสรุปบทเรียน
                           3.3 ผู้สอนวัดและประเมินผลการเรียนการสอน 
         ง. ผลที่ผู้เรียนจะได้รับจากการเรียนตามรูปแบบ 
                  ผู้เรียนจะได้พัฒนาความสามารถในการเผชิญปัญหา และสามารถคิดและ ตัดสินใจได้อย่างเหมาะสม

1.2 รูปแบบการเรียนการสอนโดยสร้างศรัทธาและโยนิโสมนสิการโดย สุมน อมรวิวัฒน์ 
         ก. ทฤษฎีหลักการแนวคิดของรูปแบบ
                  ในปี พ.ศ. 2526 สุมน อมรวิวัฒน์ นักการศึกษาไทยผู้มีชื่อเสียงและมีผลงานทาง การศึกษาจํานวนมาก ได้นําแนวคิดจากหนังสือพุทธธรรมของพระราชวรมุณี (ประยุทธ์ ปยุตโต) เกี่ยวกับการสร้างศรัทธาและโยนิโสมนสิการ มาสร้างเป็นหลักการและขั้นตอนการสอนตามแนว พุทธวิธีขึ้น รูปแบบการเรียนการสอนนี้พัฒนาขึ้นจากหลักการที่ว่า ครูเป็นบุคคลสําคัญที่สามารถจัด สภาพแวดล้อม แรงจูงใจ และวิธีการสอนให้ศิษย์เกิดศรัทธาที่จะเรียนรู้ การฝึกฝนวิธีการคิดโดยแยบ คายและนําไปสู่การปฏิบัติจนประจักษ์จริงโดยครูทําหน้าที่เป็นกัลยาณมิตรช่วยให้ศิษย์มีโอกาสคิด และแสดงออกอย่างถูกวิธี จะสามารถช่วยพัฒนาให้ศิษย์เกิดปัญญาและแก้ปัญหาได้อย่างเหมาะสม (สุมน อมรวิวัฒน์, 2533 : 161)
         ข. วัตถุประสงค์ของรูปแบบ
                  รูปแบบนี้มุ่งพัฒนาความสามารถในการคิด (โยนิโนมนสิการ) การตัดสินใจและ การแก้ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาที่เรียน
         ค. กระบวนการเรียนการสอนของรูปแบบ 
                  1. ขั้นนํา การสร้างเจตคติที่ดีต่อครู วิธีการเรียนและบทเรียน
                           1.1 จัดบรรยากาศในชั้นเรียนให้เหมาะสม ได้แก่ เหมาะสมในระดับของชั้น วัยของผู้เรียน วิธีการเรียนการสอนและเนื้อหาของบทเรียน
                           1.2 สร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างครูกับศิษย์ ครูเป็นกัลยาก ทําตนให้เป็นที่เคารพรักของศิษย์ โดยมีบุคลิกภาพที่ดี สะอาด แจ่มใส และสํารวม มีสุขภาพ ความมั่นใจในตนเอง
                           1.3 การเสนอสิ่งเร้าและแรงจูงใจ
                                    ก. ใช้สื่อการเรียนการสอน หรืออุปกรณ์และวิธีการต่างๆ เพื่อเร้าความสนใจ เช่น การจัดป้ายนิเทศ นิทรรศการ เสนอเอกสารภาพ กรณีปัญหา กรณีตัวอย่าง สถานการณ์จําลองเป็นต้น
                                    ข. จัดกิจกรรมขั้นนําที่สนุก น่าสนใจ 
                                    ค. ศิษย์ได้ตรวจสอบความรู้ ความสามารถของตน และได้รับทราบผลทันที
                  2. ขั้นสอน
                           2.1 ครูเสนอปัญหาที่เป็นสาระสําคัญของบทเรียน หรือเสนอหัวข้อเรื่อง ประเด็นสําคัญของบทเรียนด้วยวิธีการต่างๆ
                           2.2 ครูแนะนําแหล่งวิทยาการและแหล่งเรียนรู้
                           2.3 ครูฝึกการรวบรวมข้อมูล ข้อเท็จจริง ความรู้ และหลักการ โดยใช้ทักษะที่ เป็นที่เป็นเครื่องมือของการเรียนรู้ เช่น ทักษะทางวิทยาศาสตร์ และทักษะทางสังคม
                           2.4 ครูจัดกิจกรรมที่กระตุ้นให้ผู้เรียนคิด ลงมือค้นคว้า คิดวิเคราะห์ และสรุป ความคิด
                           2.5 ครูฝึกการสรุปประเด็นของข้อมูล ความรู้ และเรียงเทียบประเมินค่า โดย วิธีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ทดลอง ทดสอบ จัดเป็นทางเลือกและทางออกของการแก้ปัญหา
                           2.6 ศิษย์ดําเนินการเลือกและตัดสินใจ
                           2.7 ศิษย์ทํากิจกรรมฝึกปฏิบัติเพื่อพิสูจน์ผลการเลือก และการตัดสินใจ 
                  3. ขั้นสรุป
                           3.1 ครูและศิษย์รวบรวมข้อมูลจากการสังเกตการณ์ปฏิบัติทุกขั้นตอน 
                           3.2 ครูและศิษย์อภิปรายร่วมกันเกี่ยวกับข้อมูลที่ได้ 
                           3.3 ครูและศิษย์สรุปผลการปฏิบัติ 
                           3.4 ครูและศิษย์สรุปบทเรียน
                           3.5 ครูวัดและประเมินผลการเรียนการสอน
         ง. ผลที่ผู้เรียนจะได้รับจากการเรียนตามรูปแบบ
                  ผู้เรียนจะได้พัฒนาทักษะในการคิด การตัดสินใจ และการแก้ปัญหาอย่างหมาะสม

1.3 แบบการเรียนการสอนการคิดเป็นเพื่อการดํารงชีวิตในสังคมไทย โดย หน่วย ศึกษานิเทศก์ กรมสามัญศึกษา

         ก.ทฤษฎีหลักการ/แนวคิดของรูปแบบ
                  หน่วยศึกษานิเทศก์ กรมสามัญศึกษา (2537) ได้พัฒนารายวิชา “การคิดเป็นเพื่อ - มาคณภาพชีวิตและสังคมไทย” ขึ้น เพื่อพัฒนานักเรียนระดับมัธยมศึกษาให้สามารถคิดเป็น ซะงและเข้าใจตนเอง รายวิชาประกอบด้วยเนื้อหา 3 เรื่อง คือ 1. การพัฒนาความคิด (สติปัญญา) 2. การพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม (สัจธรรม) และ 3. การพัฒนาอารมณ์ ความรู้สึก
                  กิจกรรมที่ใช้เป็นกิจกรรมปฏิบัติการ 4 กิจกรรม ได้แก่ 1. กิจกรรมปฏิบัติการ “พัฒนากระบวนการคิด” 2. กิจกรรมปฏิบัติการ “พัฒนารากฐานความคิด" 3. กิจกรรมปฏิบัติการ “ปฏิบัติการในชีวิตจริง” และ 4. กิจกรรมปฏิบัติการ “ประเมินผลการพัฒนาประสิทธิภาพของชีวิต และงาน” ในส่วนกิจกรรมปฏิบัติการพัฒนากระบวนการคิด หน่วยศึกษานิเทศก์ กรมสามัญศึกษา ได้พัฒนาแบบแผนในการสอนซึ่งประกอบด้วยขั้นการสอน 5 ขั้น โดยอาศัยแนวคิดเกี่ยวกับการคิด เป็น ของ โกวิท วรพิพัฒน์ (อ้างถึงใน อุ่นตา นพคุณ, 2530 : 29 - 36) ที่ว่า “คิดเป็น” เป็นการแสดง ศักยภาพของมนุษย์ ในการชี้นําชะตาชีวิตของตนอง โดยการพยายามปรับตัวเองและสิ่งแวดล้อมให้ ผสมผสานกลมกลืนกันด้วยกระบวนการแก้ปัญหา ซึ่งประกอบด้วยการพิจารณาข้อมูล 3 ด้าน ได้แก่ ข้อมูลตนเอง ข้อมูลสังคมและสิ่งแวดล้อม และข้อมูลทางวิชาการ เพื่อเป้าหมายที่สําคัญคือการ คํารงชีวิตอย่างมีความสุข
         ข.วัตถุประสงค์ของรูปแบบ
                  รูปแบบนี้มุ่งช่วยพัฒนากระบวนการคิด ให้ผู้เรียนสามารถคิดเป็น คือคิดโดย พิจารณาข้อมูล 3 ด้าน ได้แก่ข้อมูลเกี่ยวกับตนเอง ข้อมูลเกี่ยวกับสังคมและสิ่งแวดล้อมและข้อมูลทาง วิชาการ เพื่อประโยชน์ในการดํารงชีวิตในสังคมไทยอย่างมีความสุข
         ค. กระบวนการเรียนการสอนของรูปแบบ
                  ขั้นที่ 1 ขั้นสืบค้นปัญหา เผชิญสถานการณ์ในวิถีการดํารงชีวิต ผู้สอนอาจ นําเสนอสถานการณ์ในวิถีการดํารงชีวิต ผู้สอนอาจนําเสนอสถานการณ์ให้ผู้เรียนสืบค้นปัญหา หรือ อาจใช้สถานการณ์และปัญหาจริงที่ผู้เรียนประสบมาในชีวิตของตนเอง หรือผู้สอนอาจจัดเป็น กานการณ์จําลอง หรือนําผู้เรียนไปเผชิญสถานการณ์นอกห้องเรียนก็ได้ สถานการณ์ที่ใช้ใน รพกษา อาจเป็นสถานการณ์เกี่ยวกับตนเอง สังคมและสิ่งแวดล้อม หรือหลักวิชาการก็ได้ เช่นสถานการณ์เกี่ยวกับเศรษฐกิจ วัฒนธรรม สังคม ครอบครัว การเรียน การทํางาน และสิ่งแวดล้อม เป็นต้น
                  ขั้นที่ 2 ขั้นรวบรวมข้อมูลและผสมผสานข้อมูล 2 ด้าน
                  เมื่อค้นพบปัญหาแล้ว ให้ผู้เรียนศึกษาข้อมูลความรู้ต่างๆ ที่เอ สถานการณ์นั้น โดยรวบรวมข้อมูลที่ให้ครบทั้ง 3 ด้าน คือ ด้านที่เกี่ยวกับ สิ่งแวดล้อม และด้านหลักวิชาการ
                  ขั้นที่ 3 ขั้นการตัดสินใจอย่างมีเป้าหมาย
                  เมื่อมีข้อมูลพร้อมแล้วให้ผู้เรียนแสวงหาทางเลือกในการแก้ปัญหา โดย ไตร่ตรองถึงผลที่จะเกิดขึ้นทั้งกับตนเอง ผู้อื่น และสังคมโดยรวม และคคสนใจเลือกทางเลือกที่ดี คือทางเลือกที่เป็นไปเพื่อการเกื้อกูลต่อชีวิตทั้งหลาย
                  ขั้นที่ 4 ขั้นปฏิบัติและตรวจสอบ
                  เมื่อตัดสินใจเลือกแนวทางปฏิบัติได้แล้วให้ผู้เรียนลงมือปฏิบัติจริงด้วยตนเอง หรือร่วมมือกับกลุ่มตามแผนงานที่กําหนดไว้อย่างพากเพียร ไม่ท้อถอย
                  ขั้นที่ 5 ขั้นประเมินผล และวางแผนพัฒนา
                  เมื่อปฏิบัติตามแผนงานที่กําหนดไว้ลุล่วงแล้ว ให้ผู้เรียนประเมินผลการปฏิบัติว่า 1 การปฏิบัติประสบผลสําเร็จมากน้อยเพียงใด มีปัญหาอุปสรรคอะไร และเกิดผลดี ผลเสียอะไรบ้าง และวางแผนงานที่จะพัฒนาปรับปรุงการปฏิบัตินั้นให้ได้ผลสมบูรณ์ขึ้น หรือวางแผนงานในการ พัฒนาเรื่องใหม่ต่อไป
         ง. ผลที่ผู้เรียนจะได้รับจากการเรียนตามรูปแบบ                  หน่วยศึกษานิเทศก์ กรมสามัญศึกษา (2537) ได้ทดลองใช้รูปแบบดังกล่าวในการ สอนนักเรียนระดับมัธยมศึกษาแล้วพบว่า ผู้เรียนมีความสามารถในการคิดเป็น สามารถแก้ปัญหา ต่างๆ ได้มีความเข้าใจในตนเองและผู้อื่นมากขึ้น เข้าใจระบบความสัมพันธ์ในสังคม และเกิดทักษะ และเจตคติที่ดีต่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต

1.4 รูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้โมเดลซิปปา (CIPPA Model) หรือรูปแบบการ ประสานห้าแนวคิดหลัก โดย ทิศนา แขมมณี

         ก. ทฤษฎีหลักการ/แนวคิดของรูปแบบ
                  ทิศนานา แขมมณี (2543 : 17) รองศาสตราจารย์ ประจําคณะครุศาสตร์ จุฬาลงมหาวิทยาลัย ได้พัฒนารูปแบบนี้ขึ้นจากประสบการณ์ที่ใช้ได้แนวคิดทางการศึกษาต่างๆ ใน เป็นเวลาประมาณ 30 ปี และพบว่าหลักการเรียนรู้จํานวนหนึ่งสามารถใช้ได้ผลตติ ดังกล่าว ได้แก่ 1. หลักการสร้างความรู้ 2. หลักกระบวนการกลุ่มและการเรียนรู้แบบร่วมมือ 3. หลักความพร้อมในการเรียนรู้ 4. หลักการการเรียนรู้กระบวนการ และ 5. หลักการถ่ายโอนการเรียนรู้หลักการทั้ง 5 เป็นที่มาของแนวคิด “CIPPA” ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อให้ผู้เรียนเป็นผู้สร้างความรู้ด้วยตนเอง C = (construction of knowledge) และมีการ ปฏิสัมพันธ์ (I - interaction) กับเพื่อน บุคคลอื่นๆ และสิ่งแวดล้อมรอบตัวหลายๆ ด้าน โดยใช้ทักษะ ระบวนการ (P = process skills) ต่างๆ จํานวนมากเป็นเครื่องมือในการสร้างความรู้ เพื่อช่วยให้ ผู้เรียนได้พัฒนาทักษะกระบวนการ และเรียนรู้สาระในแง่มุมที่กว้างขึ้น ซึ่งจะเกิดขึ้นได้หากผู้เรียนอยู่ ในสภาพที่มีความพร้อมในการรับรู้และเรียนรู้ มีประสาทการรับรู้ที่ตื่นตัว ไม่เฉื่อยชา และสิ่งที่ สามารถช่วยให้ผู้เรียนอยู่ในสภาพดังกล่าวได้ก็คือการให้ผู้เรียนมีการเคลื่อนไหวทางกาย (P  = physical partition) อย่างเหมาะสม กิจกรรมที่หลากหลาย ทําให้ผู้เรียนตื่นตัวอยู่เสมอ จึงสามารถ ว่ายให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดี แต่เรียนรู้นั้นมีความหมายต่อตนเองและความรู้ความเข้าใจ จะมีความ เล็กซึ้งและคงทนมากเพียงใดนั้นต้องอาศัยการถ่ายโอนการเรียนรู้ หากผู้เรียนมีโอกาสนําความรู้นั้นไป ประยุกต์ใช้ (A = application) ในสถานการณ์ที่หลากหลาย ความรู้นั้นจะเป็นประโยชน์และมี ความหมายมากขึ้น ด้วยแนวคิดดังกล่าว จึงเกิดแบบแผน “CIPPA” ขึ้น ซึ่งผู้สอนสามารถนําแนวคิด ทั้ง 5 ดังกล่าวไปใช้เป็นหลักในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางให้มีคุณภาพได้
         ข. วัตถุประสงค์ของรูปแบบ
                  รูปแบบนี้มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้เกิดความรู้ ความเข้าใจในเรื่องที่เรียนอย่างแท้จริง โดยการให้ผู้เรียนสร้างความรู้ด้วยตนเองโดยอาศัยการร่วมมือจากกลุ่ม นอกจากนั้นยังช่วยพัฒนา ทักษะกระบวนการต่างๆ จํานวนมาก อาทิ กระบวนการคิด กระบวนการกลุ่ม กระบวนการ ปฏิสัมพันธ์ทางสังคมแลกระบวนการแสวงหาความรู้ เป็นต้น
         ค. กระบวนการเรียนการสอนของรูปแบบ
                  ซิปปา (CIPPA) เป็นหลักการหรือแนวคิดซึ่งสามารถนําไปใช้เป็นหลักในการจัด จกรรมการเรียนรู้ต่างๆ ให้แก่ผู้เรียน การจัดกระบวนการเรียนการสอนตามหลัก “CIPPA” นี้สามารถ ใช้วิธีการและกระบวนการที่หลากหลาย ซึ่งอาจจัดเป็นแบบแผน ได้หลายรูปแบบ รูปแบบหนึ่งที่ ผู้เขียนได้นําเสนอไว้แล้วได้มีการนําไปทดลองใช้แล้วได้ผลดี ประกอบด้วยขั้นตอนการดําเนินการ 7 ขั้นตอนดังนี้
                  ขั้นที่ 1 การทบทวนความรู้เพิ่ม
                  ขันนี้เป็นการดึงความรู้เดิมของผู้เรียนในเรื่องจะเรียนเพื่อช่วยให้ผู้เรียนมีความ ในการเชื่อมโยงความรู้ใหม่กับความรู้เดิมของตนซึ่งผู้สอนอาจใช้วิธีการต่างๆ ได้อย่างหลากหลาย
                  ขั้นที่ 2 การแสวงหาความรู้ใหม่
                  ขั้นนี้เป็นการแสวงหาข้อมูลความรู้ใหม่ของผู้เรียนจากแหล่งข้อมูล ความรู้ต่างๆ ซึ่งครูอาจเตรียมมาให้ผู้เรียนหรือให้คําแนะนําเกี่ยวกับแหล่งข้อมูลต่างๆ เพื่อ ไปแสวงหาก็ได้
                  ขั้นที่ 3 การศึกษาทําความเข้าใจข้อมูล/ความรู้ใหม่ และเชื่อมโยงความรู้ใหม่กัน ความรู้เดิม
                  ขั้นนี้เป็นขั้นที่ผู้เรียนจะต้องศึกษาและทําความเข้าใจกับข้อมูล/ความรู้ที่หามาน ผู้เรียนจะต้องสร้างความหมายของข้อมูล/ ประสบการณ์ใหม่ๆ โดยใช้กระบวนการต่างๆ ด้วย เช่น ใช้กระบวนการคิดและกระบวนการกลุ่มในการอภิปรายและสรุปความเข้าใจเกี่ยวกับข้อมูลนั้น ซึ่งจําเป็นต้องอาศัยการเชื่อมโยงกับความรู้เดิม
                  ขั้นที่ 4 การแลกเปลี่ยนความรู้ความเข้าใจกับกลุ่ม
                  ขั้นนี้เป็นขั้นที่ผู้เรียนอาศัยกลุ่มเป็นเครื่องมือในการตรวจสอบความรู้ความเข้าใจ ของตน รวมทั้งขยายความรู้ความเข้าใจของตนให้กว้างขึ้น ซึ่งช่วยให้ผู้เรียนได้แบ่งปันความรู้ความ เข้าใจของตนแก่ผู้อื่น และได้รับประโยชน์จากความรู้ ความเข้าใจของผู้อื่นไปพร้อมๆ กัน
                  ขั้นที่ 5 การสรุปจัดระเบียบความรู้ และวิเคราะห์กระบวนการเรียนรู้
                  ขั้นนี้เป็นขั้นของการสรุปความรู้ที่ได้รับทั้งหมด ทั้งความรู้เดิมและความรู้ใหม่ และจัดสิ่งที่เรียนให้เป็นระบบระเบียบเพื่อช่วยให้ผู้เรียนจดจําสิ่งที่เรียนรู้ได้ง่าย รวมทั้งวิเคราะห์ กระบวนการเรียนรู้ทั้งหลายที่เกิดขึ้น
                  ขั้นที่ 6 การปฏิบัติ และ/หรือการแสดงผลงาน
                  หากข้อความรู้ที่ได้เรียนรู้มาไม่มีการปฏิบัติ ขั้นนี้จะเป็นขั้นที่ช่วยให้ผู้เรียนได้มี โอกาสแสดงผลงานการสร้างความรู้ของตนให้ผู้อื่นรับรู้ เป็นการช่วยให้ผู้เรียนได้ตอกย้ําหรือ ตรวจสอบความเข้าใจของตนและช่วยส่งเสริมให้ผู้เรียนใช้ความคิดสร้างสรรค์ แต่หากต้องมีการ ปฏิบัติตามข้อความรู้ที่ได้ วันนี้จะเป็นขั้นปฏิบัติ และมีการแสดงผลงานที่ได้ปฏิบัติด้วย
                  ขั้นที่ 7 การประยุกต์ใช้ความรู้
                  ขั้นนี้เป็นขั้นของการส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ฝึกฝนการนําความรู้ความเข้าใจของคน ไปใช้ในสถานการณ์ต่างๆ ที่หลากหลายเพื่อเพิ่มความชํานาญ ความเข้าใจ ความสามารถในการ แก้ปัญหาและความจําในเรื่องนั้นๆหลังจากประยุกต์ใช้ความรู้ อาจมีการนําเสนอผลงานจากการประยุกต์อีกคร เช่นกัน                  ขั้นตอนตั้งแต่ขั้นที่ 1 - 6 เป็นกระบวนการของการสร้างความรู้ (construction of knowledge) ซึ่งครูสามารถจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนมีโอกาสปฏิสัมพันธ์แลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน (interaction) และฝึกฝนทักษะกระบวนการต่างๆ (process learning) อย่างต่อเนื่อง เนื่องจากขั้นตอน จะขั้นตอนช่วยให้ผู้เรียนได้เคลื่อนไหวทํากิจกรรมหลากหลาย (physical participation) จึงนับได้ว่า เป็นกิจกรรมที่ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการตื่นตัว (active) ทั้งทางกาย ทางสติปัญญา ทางอารมณ์ และทาง สังคม อันจะส่งผลให้ผู้เรียนสามารถรับรู้และเรียนรู้ได้ดี จึงกล่าวได้ว่าขั้นตอนทั้ง 6 มีคุณสมบัติตาม หลักการ CIPPA ส่วนขั้นตอนที่ 7 เป็นขั้นตอนที่ช่วยให้ผู้เรียนนําความรู้ไปใช้ (application) จึงทําให้ รูปแบบนี้มีคุณสมบัติครบตามหลักCIPPA
         ง.ผลที่ผู้เรียนจะได้รับจาการเรียนตามรูปแบบ
                  ผู้เรียนจะเกิดความเข้าใจในสิ่งที่เรียน สามารถอธิบาย ชี้แจง ตอบคําถามได้ที่ นอกจากนั้นยังได้พัฒนาทักษะในการคิดวิเคราะห์ การคิดสร้างสรรค์ การทํางานเป็นกลุ่มการสื่อสาร รวมทั้งเกิดการใฝ่รู้ด้วย

อ้างอิง
พิจิตรา ธงพานิช. วิชาการออกแบบและการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน. พิมพ์ครั้งที่ 3 นครปฐม : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์, 2560.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม